คุณกำลังมองหาอะไร?

ำนักโภชนาการ กรมอนามัย จัดประชุมเพื่อพัฒนาและผลักดันมาตรการปกป้องเด็กไทยจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก โดยคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2566

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

20.12.2566
119
0
แชร์
20
ธันวาคม
2566

สรุปการประชุมเพื่อพัฒนาและผลักดันมาตรการปกป้องเด็กไทยจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก
โดยคณะทำงานเพื่อการพัฒนาและผลักดันร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์สำหรับเด็ก และผู้เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1/2566
วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 09.30 – 14.00 น.
ณ ห้องประชุมสมบูรณ์ วัชโรทัย อาคาร 1 ชั้น 2 กรมอนามัย และผ่านระบบ Web Conference

นพ สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ประธานคณะทำงานพัฒนาและผลักดันร่างพระราชบัญญัติฯ
มอบหมาย นพ.สมพงษ์ ชัยโอภานนท์ ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกรมอนามัย เป็นประธานการประชุม
รองประธาน: ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ
ผู้เข้าร่วมประชุม: คณะทำงานเพื่อการพัฒนาและผลักดันร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์สำหรับเด็ก (กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและด้านจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการสื่อสารการตลาด นักวิจัยด้านการตลาดต่อสุขภาพ นักกฎหมายผู้แทน WHO UNICEF IPSR ม.มหิดล สมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย เครือข่ายลดบริโภคเค็ม อย. สสส.), ผู้จัดการศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้แทน WHO-CCS NCDs, IHPP, กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, และทีมสำนักโภชนาการ กรมอนามัย จำนวนรวมทั้งสิ้น 36 คน

ประเด็นสำคัญของการประชุม
1. การดำเนินการขับเคลื่อน (ร่าง) พรบ.ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก
2. สรุปผลการประชาพิจารณ์ ร่าง พรบ.ฯ และประเด็นข้อโต้แย้งสำคัญ
3. พิจารณาข้อคิดเห็นจากการประชาพิจารณ์และข้อเสนอการปรับแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ฯ โดยคณะทำงานยกร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์สำหรับเด็ก (คณะทำงานชุดที่ 2)
4. พิจารณากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่จะควบคุมการตลาดในระยะแรก
5. การปรับแก้ไขและปรับเพิ่มคำสั่งคณะทำงานที่เกี่ยวกับการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์สำหรับเด็ก

แผนการดำเนินการต่อไป
1. ปรับแก้ไข ร่าง พ.ร.บ. ตามมติที่ประชุม และหารือการปรับแก้ไขรายละเอียด ร่าง พ.ร.บ.ฯ เพิ่มเติมบางประเด็น และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ เสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.ฯ ฉบับแก้ไขหลังประชาพิจารณ์ ต่อผู้บริหารระดับสูง
(อธิบดีกรมอนามัย-> ปลัดกระทรวงสาธารณสุข-> รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) เพื่อพิจารณาเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายต่อไป
2. จัดทำข้อมูลเพิ่มเติมในการพิจารณากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่จะควบคุมการตลาดในระยะแรก
3. จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานเกี่ยวกับการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์สำหรับเด็ก ตามข้อเสนอแนะของที่ประชุม

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน