คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่

าวประชาสัมพันธ์

อัพเดททุกสาระ ข่าวสารเพื่อสุขภาพ มั่นใจไม่ตกเทรนด์

01. ข่าวสารสำนักโภชนาการ
กรมอนามัย
19
เมษายน
2567
19.04.2567
วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน 2567 ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ พร้อมด้วยบุคลากรสำนักโภชนาการ ร่วมกิจกรรมงานวันปีใหม่ไทย ร่วมสรงน้ำพระพุทธรูป และรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ณ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน 2567 ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ พร้อมด้วยบุคลากรสำนักโภชนาการ ร่วมกิจกรรมงานวันปีใหม่ไทย ร่วมสรงน้ำพระพุทธรูป และรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ณ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย

วิ

ดีโอ

& สื่อมัลติมีเดีย

26.01.2564
วีดีทัศน์สำนักโภชนาการ

วีดีทัศน์สำนักโภชนาการ

อั

ลบั้มภาพ

พร้อมอัพเดท

calendar Cover for 2024 / 04
ร่

วมแสดงความคิดเห็น

ความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
ดูผลโหวต

อินโฟกราฟิก

09.04.2567
อาหารแก้ง่วง เดินทางช่วงสงกรานต์ปลอดภัย

การขับรถทางไกลช่วงสงกรานต์ อาจทำให้มีอาการง่วงและเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ผู้ขับขี่บางรายจึงนิยมดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เพราะมีสารคาเฟอีนเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว สามารถขับรถต่อเนื่องได้นาน โดยปกติร่างกายไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน หากดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวัน จะทำให้ร่างกายได้รับคาเฟอีนมากถึง 500 – 1,000 มิลลิกรัม ส่งผลให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว มือสั่น ใจสั่น คลื่นไส้ หลังจากดื่มกาแฟไปแล้วประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงคาเฟอีนจะออกฤทธิ์ ทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น ร่างกายต้องสูญเสียเกลือแร่ คือ โซเดียมและแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะมากขึ้นด้วย ส่วนเครื่องดื่มประเภทชูกำลังมีปริมาณคาเฟอีน 50 มิลลิกรัมและมีปริมาณน้ำตาล 25-26 กรัมต่อขวด แม้หลายคนจะมีความเชื่อว่า เครื่องดื่มชูกำลังจะทำให้ร่างกายตื่นตัว ไม่ง่วง จึงเป็นสาเหตุให้ละเลยการพักผ่อน ทำให้ยิ่งอ่อนล้าจนมีอาการมึนงง อีกทั้งยังส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ การดื่มกาแฟและเครื่องดื่มชูกำลังเป็นประจำ จะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ “ผู้ขับรถทางไกล ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก่อนวันเดินทาง และควรเปลี่ยนจากเครื่องดื่มชูกำลังมาเป็นดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 6 – 8 แก้วต่อวันแทน โดยเน้นจิบบ่อย ๆ ระหว่างเดินทางหรือกินผลไม้สดหรือดื่มน้ำผลไม้คั้นสดรสเปรี้ยวที่เป็นแหล่งวิตามินซี เช่น ส้ม ฝรั่ง มะม่วงดิบ หรือสับปะรด แทนจะดีกว่า เพราะวิตามินซีจะช่วยต้านความเหนื่อยล้าที่มาจากความเครียดและความกังวลขณะขับรถได้” นอกจากนี้ ควรกินอาหารประเภทข้าวแป้งในปริมาณที่อิ่มพอดี เพราะจะทำให้รู้สึกง่วงได้ง่าย รวมทั้งให้เลี่ยงกินผักที่ย่อยยาก เช่น กะหล่ำปลีดิบ ดอกกะหล่ำ ถั่ว หอมใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง และมันฝรั่ง เป็นต้น งดเครื่องดื่มที่มีฟอง เช่น โซดา หรือน้ำอัดลมผสมโซดา เพราะมีผลทำให้ท้องอืดเฟ้อและง่วงนอนได้เช่นเดียวกัน

20.03.2567
อาหารจานด่วนสุดฮิต แต่ถ้ากินบ่อยมากไปอาจส่งผลเสียให้เสี่ยงกับ โรคสุดฮอต

อาหารจานด่วนสุดฮิต แต่ถ้ากินบ่อยมากไปอาจส่งผลเสียให้เสี่ยงกับ โรคสุดฮอต ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากรไทย โดยสำนักงานสถิติ ปี 2564 พบร้อยละของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป บริโภคอาหารจานด่วนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี พบความถี่สูงสุด รองลงมาเป็น กลุ่มอายุ 15 - 24 ปี และ กลุ่มอายุ 25-59 ปี เด็กที่รับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดเป็นประจำจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของร่างกายระยะยาว วัยทำงานที่รับประทานอาหารฟาสฟู้ดต์เป็นประจำ เสี่ยงน้ำหนักเพิ่ม และเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ ถ้าไม่อยากเสี่ยง ควรเลี่บงด้วยหลักลด หวาน มัน เค็ม โดยเลี่ยงกินอาหารฟาสต์ฟู้ดและน้ำอัดลม เพื่อป้องกัน น้ำตาล ไขมันอิ่มตัวและโซเดียมเกินความต้องการต่อวัน หากจำเป็นต้องทานควรทานนานๆครั้ง และเลือกสั่งขนาดเล็ก เพิ่มผัก หรือเครื่องเคียงที่มีประโยชน์เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ ช่วยลดผลเสียต่อสุขภาพ