Public Management Quality Award
การดำเนินงานพัฒนาสำนักโภชนาการตามแนวทาง PMQA
PMQA เป็นคำย่อ มาจากคำเต็มคือ Public Sector Manangement Quality Awards หมายถึง รางวัลการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งมีผู้รับผิดชอบคือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ในอนาคต กพร.จะใช้เป็นเกณฑ์ในการให้รางวัลองค์กรภาครัฐที่มีการปฏิบัติงานเป็นเลิศ PMQA มีที่มาจาก TQA ซึ่งเป็นเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Awards) มีการมอบรางวัลให้กับองค์กรที่มีผลการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
สำนักโภชนาการได้ดำเนินการโดยนำเอาเกณฑ์ของ PMQA มาใช้ในการพัฒนาองค์กรและเริ่มดำเนินการตามนโยบาย กรมอนามัย ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 ในเบื้องต้นเป็นการให้ความรู้บุคลากรเป็นส่วนใหญ่ และเริ่มดำเนินการเป็นบางส่วนในปีงบประมาณ 2549 คาดว่าจะดำเนินการเต็มรูปแบบในปีงบประมาณ 2550 การดำเนินการดังกล่าวเป็นการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศซึ่งต้องอาศัย ความรู้ ความสามารถและการร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกคนในองค์กรจึงจะดำเนินงานพัฒนาดังกล่าวสำเร็จ
การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ หรือ การพัฒนาองค์กรตามแนวทาง PMQA มีกรอบแนวคิดและขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมาย
ขั้นตอนแรก มีการจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยมีผู้อำนวยการสำนักโภชนาการเป็นประธาน หลังจากนั้นคณะทำงานได้สอบถามบุคลากรในองค์กรในเรื่องการเปลี่ยนแปลงโดยมีคำถามให้บุคลากรทุกคนตอบว่า ถ้าสำนักโภชนาการต้องดำเนินการพัฒนาองค์กรตามแนวทาง PMQA ทุกคนมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร จะให้ความร่วมมือหรือไม่ ซึ่งได้คำตอบดังนี้
จะเห็นว่าบุคลากรส่วนใหญ่ของสำนักโภชนาการเห็นด้วยกับการพัฒนาองค์กรตามแนวทาง PMQA
ขั้นตอนที่สอง หลังจากเห็นว่ามีผู้ให้ความร่วมมือเป็นส่วนใหญ่จึงดำเนินการอบรมให้ความรู้ ในหัวข้อ "การพัฒนาสำนักโภชนาการสู่ความเป็นเลิศตามแนวทาง PMQA” ในวันที่ 22 มีนาคม 2549 โดยมี ท่านรองอธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์ประเสริฐ หลุยเจริญ เป็นประธานและผู้อำนวยการสำนักที่ปรึกษา กรมอนามัย แพทย์หญิง นันทา อ่วมกุล บรรยายเรื่อง ทิศทางของกรมอนามัยในเรื่องการพัฒนาองค์กร ซึ่งจะตอบสนองต่อแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546-2550) การจัดอบรมดังกล่าวเป็นการให้ความรู้และกระตุ้นให้บุคลากรตระหนักถึง การพัฒนาสู่สิ่งที่ดีขึ้น
ขั้นตอนที่สาม คณะทำงานได้ดำเนินการประเมินองค์ด้วยตนเอง โดยใช้เกณฑ์การประเมินของ กพร.ตามแนวทาง PMQA (การประเมินดังกล่าวได้ดำเนินมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 โดยใช้เกณฑ์ TQA)
ประโยชน์ที่ได้จากการประเมินทำให้ทราบถึงจุดแข็ง จุดที่ต้องปรับปรุง ของสำนักโภชนาการในแต่ละหมวดได้แก่ หมวดการนำองค์กร หมวดการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ หมวดการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวดการวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้ หมวดการมุ่งเน้นทรัพยากร หมวดการจัดการกระบวนการ หมวดผลลัพธ์การดำเนินงาน แล้วนำผลที่ได้จากการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานของสำนักโภชนาการ รวมทั้งมองถึงผลงานในอดีตที่ผ่านมา และวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน จากนั้นนำมาจัดทำเป็นแผนที่กลยุทธ์ ของสำนักโภชนาการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานสู่เป้าหมายต่อไป
PMQAหมวด 3รอบ 6 เดือน.doc |
ขนาดไฟล์ 138KB
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |
|
PMQA หมวด 4 การวัด วิเคราะห์ข้อมูลและการจัดการความรู้.rar |
ขนาดไฟล์ 19KB
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |