ประชุมหารือการขับเคลื่อนงานส่งเสริมโภชนาการสำหรับผู้พิการทุกกลุ่มวัย
ในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ
วันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 13.30-16.30 น.
ณ ห้องประชุมอุทัย พิศลยบุตร สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
ประธานการประชุม : พญ. สุนิสา สถลนันท์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านโภชนาการ)
ผู้เข้าร่วมประชุม: นางสาวอรอนงค์ เธียรไทย ผู้อำนวยการกลุ่มคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการ พร้อมทีมนักวิชาการกองคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการ (กคพ.) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และ ผู้แทนสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้า และบ้านราชาวดี (ชาย) จังหวัดนนทบุรี หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมโภชนาการทุกกลุ่มวัย และนักวิชาการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย จำนวนรวมทั้งสิ้น 17 คน
ประเด็นสำคัญของการประชุม
-
บทบาทหน้าที่ของกองคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการ (กคพ.) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานให้คนพิการเข้าสู่บ้านคุ้มครองคนพิการต่าง ๆ ตามสภาพความพิการ ปัจจุบันมีหน่วยงานที่ให้บริการ คือ สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ (สศพ.) จำนวน 11 แห่ง กระจายทั่วประเทศ และ ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จำนวน 2 แห่ง โดยคนพิการจะแบ่งตามกลุ่มอายุ คือ 0-7 ปี , 7-18 ปี และ 18 ปีขั้นไป อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีข้อจำกัดในการดูแล/ส่งต่อ สคพ. บางแห่งจำเป็นต้องดูแลคนพิการเกินอายุแรกรับ
-
การบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ (สศพ.) ประเด็นด้านอาหารจะมีคณะกรรมการ/คณะทำงาน (ทีมพยาบาลเป็นหลัก) ในการจัดอาหารให้กับผู้ที่อยู่ในความดูแล และมีการจัดอาหารพิเศษให้กับผู้ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยได้รับงบประมาณ 57 บาทต่อวันต่อคน สำหรับสูตรอาหารได้รับข้อมูลจากนักโภชนาการ รพ.ชลประทาน และ รพ.รามาธิบดี รวมทั้งงานพยาบาลจะมีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง และประเมินภาวะโภชนาการ ทุก 3 เดือนโดยใช้เกณฑ์ของ
กรมอนามัยในการประเมิน
-
ช่องว่างของการดำเนินงาน (Gap) ด้านโภชนาการ
-
องค์ความรู้การส่งเสริมโภชนาการของแต่ละกลุ่มวัย การจัดอาหาร การตักอาหารให้เหมาะสม เพียงพอกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
-
องค์ความรู้และเครื่องมือ ที่ใช้ในปัจจุบัน (Update) สำหรับการประเมินภาวะโภชนาการและ
การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
-
แนวทางในการสื่อสารประเด็นอาหารและขนมที่ได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา (ส่วนใหญ่เป็นขนมที่มีความหวาน มัน เค็ม)
แผนการดำเนินงานต่อไป
การลงพื้นที่สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ (สศพ.) เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขช่องว่าง
การดำเนินงานด้านโภชนาการ และนำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารต่อไป