คุณกำลังมองหาอะไร?

ร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ ประธานอภิปรายเรื่อง “การขับเคลื่อนสาวไทยแก้มแดง เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในสถานประกอบการ” และแบ่งกลุ่มถอดบทเรียน World cafe ร่วมกับสถานประกอบการฯ ต้นแบบ ปี 2566 จำนวน 47 แห่ง

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

15.02.2567
159
0
แชร์
15
กุมภาพันธ์
2567

         ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ ประธานอภิปรายเรื่อง “การขับเคลื่อนสาวไทยแก้มแดง เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในสถานประกอบการ” และแบ่งกลุ่มถอดบทเรียน World cafe ร่วมกับสถานประกอบการฯ ต้นแบบ ปี 2566 จำนวน 47 แห่ง และหน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรม เบสท์ เวสเทิร์น พลัส แวนด้า แกรนด์ จ.นนทบุรี และ Facebook live กรมอนามัย

         การถอดบทเรียนการขับเคลื่อนสาวไทยแก้มแดง เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในสถานประกอบการ ประกอบด้วย 4 ประเด็น ได้แก่
        ประเด็นที่ 1 ความสำเร็จและความท้าทายในการเป็นสถานประกอบการสาวไทยแก้มแดงต้นแบบ Leadership ในทุกระดับเป็นปัจจัยสำคัญ ตั้งแต่กรมอนามัยประการนโยบาย ขับเคลื่อนในภูมิภาคโดยศูนย์อนามัยถึงสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผู้บริหารของสถานประกอบการเห็นความสำคัญต่อการป้องกันภาวะโลหิตจางของพนักงานหญิง อนุมัติให้คณะทำงานที่นำโดยผู้จัดการฝ่ายบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการการทำงาน (จป.) มีตัวแทนจากทุกกลุ่มงาน การขับเคลื่อนงานในเวทีของสถานประกอบการระดับประเทศ (เครือข่ายสภาอุตสาหกรรม นอกเหนือจากกระทรวงสาธารณสุข) ชี้แนะให้สถานประกอบการเห็นความสำคัญของโครงการ และให้สถานประกอบการเป็นเจ้าของเรื่อง หน่วยภาครัฐเป็นทีมสนับสนุน จะทำให้มีความยั่งยืน สถานประกอบการให้ความสนใจเข้ามาร่วมโครงการเอง

        ประเด็นที่ 2 การเชื่อมโยงสถานประกอบการฯ กับระบบบริการสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพตามสิทธิของลูกจ้าง พบว่า สถานประกอบการมีการตรวจสุขภาพประจำปีให้พนักงานเป็นนโยบายบริษัท โดยหน่วยบริการ: รพ.สต. , สสอ., สสจ. และมีบางหน่วยงานเป็น outsource เอกชน แต่จะมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ตรวจคัดกรองซีดทุกปี และแจกจ่ายยาเม็ดสำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ซีด แต่สถานประกอบการบางแห่งยังไม่มีการประเมินและติดตามการกินยาเม็ด พบว่าประเด็นสื่อประชาสัมพันธ์เรื่องสิทธิในการได้รับยาเม็ดธาตุเหล็กและโฟลิกค่อนข้างน้อย มีข้อเสนอให้เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งยังมีสถานประกอบการที่ยังไม่ทราบถึงสิทธิที่สามารถสมัครขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการภายใต้ สปสช พบว่า ควรมีการสื่อสารบุคลากรสาธารสุขในการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนสถานประกอบการมาลงทะเบียน

        ประเด็นที่ 3 ปัจจัยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีในสถานประกอบการฯ สถานประกอบการสร้างปัจจัยส่งเสริมการมีสุขภาพดีตามบริบทของบริษัทเอง เช่น บริษัทเป็นผู้ผลิต-จำหน่ายไข่ มีนโยบาย “ฟรี!!! แจกไข่เดือนละ 30 ฟอง ให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานตลอดการตั้งครรภ์” บริษัทผลิตของเล่นเด็ก มีนโยบายส่งเสริมให้พนักงานหญิงตั้งครรภ์โดยสนับสนุนเงินขวัญถุง สวัสดิการและของขวัญต่าง ๆ เพื่อเชิญชวนให้พนักงานตั้งครรภ์ เป็นการสนับสนุนทั้งในวาระแห่งชาติส่งเสริมการ มีบุตรและกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเด็กซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการจำหน่ายสินค้าของบริษัท จัดให้มีเมนูชูสุขภาพ เมนูเสริมธาตุเหล็กและโฟเลต ส่งเสริมการกินผัก โดยแจกฟรีอาทิตย์ละ 1 มื้อ มีตลาดนัดขายผัก/ผลไม้ในสถานประกอบการ การให้รางวัลแก่ผู้ที่รับประทานยาเม็ดธาตุเหล็กและโฟลิกครบกำหนด รวมถึงจัดให้มีมุมสาวไทยแก้มแดงเป็นมุมเฉพาะเพื่อให้ความรู้เป็นมุมที่ให้พนักงานหญิงมารับและรับประทานยาเพื่อไม่ให้ลืม เพิ่มเติมจากมุมนมแม่ และมีมุมออกกำลังกาย/ส่งเสริมสุขภาพ

        ประเด็นที่ 4 การต่อยอดขยายผลและการเป็น Learning Center ของสถานประกอบการฯ สถานประกอบการสาวไทยแก้มแดงต้นแบบ ปี 2566 จำนวน 47 แห่ง มีความพร้อมเป็น Learning Center ดำเนินการต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไป เป็นแหล่ง ให้สถานประกอบการที่สนใจมาศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมขยายผลแบบ 1 : 2 รวมถึงการสร้างภาคีเครือข่ายของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยกำหนดเป็นวาระร่วมกัน เพื่อดำเนินกิจกรรมและกำหนด KPIs

เป้าหมาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
1. จำนวนสถานประกอบการสาวไทยแก้มแดงต้นแบบ 77 แห่ง
2. หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิก 400,000 คน

ก้าวต่อไป
1. ส่วนกลาง สรุปผลการถอดบทเรียน นำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งปัจจัยความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ เพื่อเสนอเชิงนโยบาย ร่วมขับเคลื่อนกับภาคีเครือข่าย
2. ศูนย์อนามัย/สสจ./รพ. ประสานขอข้อมูลผลตรวจสุขภาพ (Hb/Hct/ BMI) +ประสิทธิภาพการทำงาน (ลาป่วย) เพิ่มเติม และ ขยายสถานประกอบการในพื้นที่ ให้ได้จังหวัดละ 1 แห่ง รวมทั้งประชาสัมพันธ์การจดทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
3. สถานประกอบการ ให้ข้อมูลผลตรวจสุขภาพ (Hb/Hct/ BMI) และประสิทธิภาพการทำงาน (ลาป่วย) แก่ศูนย์อนามัย/ส่วนกลาง เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินงานต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน