นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย ประธานคณะกรรมการ แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย มอบหมาย ดร.แพทย์หญิงสายพิณ โชติวิเชียร
ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ เป็นผู้แทนอธิบดีกรมอนามัยในฐานะคณะกรรมการ นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมอนามัย และนางกุลนันท์ เสนคำ นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ เป็นผู้แทนผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ ผู้ช่วยเลขานุการ: ผู้แทนสำนักโภชนาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ผู้เข้าร่วมประชุม: ผู้แทนจากหน่วยงานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรมประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันอาหาร สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สภาหอการค้าประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญที่ประธานกรรมการแต่งตั้ง
3 ท่าน ได้แก่ 1) รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) นางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
และ 3. นางจุรีรัตน์ ห่อเกียรติ ที่ปรึกษากองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จำนวนทั้งสิ้น 50 ท่าน ทั้งแบบออนไลน์และออนไซต์
วัตถุประสงค์: เพื่อติดตามผลการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการอาหารของประเทศไทย ยุทธศาสตร์ 3 อาหารศึกษา รวมทั้งจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ (คกอช.)
ประเด็นเพื่อทราบ
- การดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2566
- การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการภายใต้คณะคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ ได้แก่ 1) การพัฒนาและส่งเสริมการใช้สัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่าย 2) การพัฒนาการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการในสถานศึกษาและชุมชน และ 3) การติดตามด้านเป้าหมายลดคนขาดแคลนอาหาร และภาวะทุพโภชนาการ
- การดำเนินงาน (ร่าง) พรบ.ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก
มติที่ประชุม รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงาน
ประเด็นเพื่อพิจารณา
- การกำกับติดตามการจัดการอาหารกลางวันโรงเรียนที่มีคุณภาพ มีข้อเสนอ ดังนี้
1) เสนอ สพฐ. และ อปท. สนับสนุงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพครู ดูแลการจัดการอาหารและโภชนาการ และการใช้โปรแกรม Thai School Lunch
2) เพิ่มความครอบคลุมในการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการจัดอาหารกลางวันให้มีคุณภาพ โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบหลักคือ สพป. และ อปท. ร่วมกับ สสจ./ศอ./รพช.
3) ให้โรงเรียนต้นสังกัด ออกข้อบังคับให้โรงเรียนต้องดำเนินการจัดอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ
มติที่ประชุม เห็นชอบในหลักการข้อพิจารณาทั้ง 3 ข้อ และมอบหมายดังนี้
- ฝ่ายเลขานุการประสานกับกรรมการและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องดำเนินงานในภาพรวม ศธ/สธ/มท ร่วมกัน
- คณะอนุกรรมการดำเนินงานตามที่ประชุมเสนอ โดยจัดให้มีการประชุมเพื่อให้ได้ (ข้อเสนอเชิงนโยบาย) และฝ่ายเลขาฯ เข้าร่วมประชุมด้วย และนำมาเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งต่อไป
- การบูรณาการทั้งนโยบาย/มาตรการ/แนวทาง/คู่มือ/หลักสูตร รวมถึงการสนับสนุนหน่วยงานต้นแบบ/หน่วยงานนำร่อง ขอความอนุเคราะห์อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ เป็นประธาน และขอสนับสนุนงบประมาณจาก สสส.
2. การผลักดันนักโภชนาการ สังกัด อปท. และ รพช. ขับเคลื่อนงานโภชนาการในสถานศึกษาและชุมชน กรมอนามัย ร่วมกับสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย จัดทำภาระงานสำหรับนักโภชนาการ สังกัด รพช. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับกรมอนามัย จัดทำภาระงานสำหรับนักโภชนาการสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการอาหารแห่งชาติตามลำดับ
มติที่ประชุม
- เห็นชอบตามข้อเสนอ มอบสธ. โดยกรมอนามัย ประสานสำนักงานปลัดกระทรวง มท./ สถ.และสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย จัดทำภาระงานของนักโภชนาการตามบริบทสถานบริการในพื้นที่ และกำหนดให้นักโภชนาการในระดับท้องถิ่นสามารถทำงานชุมชนได้ ไม่ใช่แค่เฉพาะในสถานบริการ รพ. หรือ ศพด.
- มอบคณะทำงานพัฒนากำลังคนด้านอาหารและโภชนาการเพื่อเด็กและชุมชน หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานผลการดำเนินงานในครั้งถัดไป
นัดหมายการประชุมฯ กรณีที่มีการประชุม คกอช. เดือนมิถุนายน 2567 ให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ ในไตรมาส 4 ของปี 2567