กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
วันที่ 24 มิถุนายน 2567 สำนักโภชนาการ กรมอนามัย จัดประชุมคณะอนุกรรมการสื่อสารสู่สาธารณะและผลักดันนโยบายสาธารณะ ครั้งที่ 1/2567 ภายใต้คณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ ณ ห้องประชุมสมบูรณ์ วัชโรทัย อาคาร 1 ชั้น 2 กรมอนามัย
ประธาน : ดร.นพ.ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย
รองประธาน : ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ
ผู้เข้าร่วมประชุม : คณะอนุกรรมการฯ ประกอบด้วย ดร.สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษากรมอนามัย ประธานชมรมผู้ประกอบการเกลือเสริมไอโอดีนภาคกลาง นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักโภชนาการ กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ รวม 30 คน
วัตถุประสงค์ : เพื่อวางแผนการสื่อสารสู่สาธารณะงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือจากสื่อมวลชนทุกแขนง
ประเด็นสำคัญ :
1. การสื่อสารและสร้างความร่วมมือเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ในงานประชุมเชิงปฏิบัติการยกระดับการมีส่วนร่วมและกระชับมิตรเครือข่าย ในภารกิจการส่งเสริมสุขภาพเพื่อประชาชนระดับพื้นที่ ระหว่างวันที่ 26 -28 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร มีกิจกรรมสำคัญ ได้แก่
1.1 มอบโล่เชิดชูเกียรติประสานพลังขับเคลื่อนชุมชนหมู่บ้านไอโอดีน โดย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
1.2 มอบเกียรติบัตรจังหวัดที่ร่วมดำเนินการเฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีน 77 จังหวัด
1.3 เวทีอภิปราย: มหัศจรรย์ 2,500 วันสานพลังเครือข่ายสร้างแม่และเด็กไทยสุขภาพดี
2. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ รายงานความก้าวหน้าบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การขับเคลื่อนการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ระหว่าง กรมอนามัย กับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
3. รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังและขับเคลื่อนการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน
3.1 ค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ก่อนได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน
3.2 ค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กอายุ 3-5 ปี และผู้สูงอายุ
3.3 ครัวเรือนมีการใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพ 20 - 40 ppm
3.4 การได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์
3.5 มาตรการความร่วมมือกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในการติดตามการกินยาเม็ดเสริมไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร
3.6 มาตรการขับเคลื่อนชุมชนหมู่บ้านไอโอดีน และร้านค้าร้านอาหารไอโอดีน
3.7 มาตรการสื่อสารธงโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ฉบับใหม่ ปี 2567
3.8 มาตรการเผยแพร่สื่อการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน
3.9 ผลการสำรวจอนามัยโพล “กินเค็มพอดี ต้องมีไอโอดีน”
4. รูปแบบกิจกรรมสัปดาห์รณรงค์ “25 มิถุนายน วันไอโอดีนแห่งชาติ” ตั้งแต่วันที่ 20 – 30 มิถุนายน 2567 เป็นกิจกรรมรณรงค์ผ่าน Social media ให้ถ่ายภาพผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนหรือเมนูชูสุขภาพที่มีไอโอดีนสูง ประกาศรายชื่อและรับของรางวัล วันที่ 30 มิถุนายน 2567
5. Concept การสื่อสารคือ “ระดมทุนทางสังคม ปลุกพลังประชาชน สร้างความรอบรู้ด้านไอโอดีน (IDD LITERACY)”
6. แผนการสื่อสาร เพื่อถวายรายงานเนื่องในโอกาสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครบ 70 พรรษา (2 เมษายน 2568)
มติที่ประชุม : มอบสำนักโภชนาการ และ กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง