กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
วันที่ 25 มิถุนายน 2567 อธิบดีกรมอนามัย พญ.อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล มอบหมาย นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย ร่วมแถลงข่าวประเด็น ปกป้องเด็กไทยจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ในงาน stakeholder workshop on accelerating salt reduction in Thailand จัดแถลงข่าวโดย Thai NCD-alliance ร่วมกับ สสส. WHO ประเทศไทย เครือข่ายลดการบริโภคเค็ม Resolve to save lives ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ
ประธานการประชุม : นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วม : เจ้าหน้าที่จากกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข (อย., กรมควบคุมโรค, สำนักโภชนาการ กรมอนามัย) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ International Health Policy Program (IHPP)
วัตถุประสงค์ : เพื่อหารือภาคีเครือข่ายสำหรับการขับเคลื่อนมาตรการเร่งลดโซเดียมในประเทศไทย
ประเด็นสำคัญ
1. การร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานการลดโซเดียมระดับชาติ ได้แก่
1.1.ยุทธศาสตร์ชาติในการลดโซเดียม โดย นายแพทย์กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
1.2 การขับเคลื่อนมาตรการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง
(High in fat sugar and sodium; HFSS) หรือ (ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก
โดย ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย
1.3 นโยบายภาษีความเค็ม โดย ผู้แทนกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง
2. แนวทาง Best Practices สำหรับการลดโซเดียมระดับโลก เช่น มาตรการภาษีเค็ม การควบคุมการตลาดอาหาร HFSS การใช้สัญลักษณ์เตือนอาหาร HFSS เป็นต้น โดย Christine Johnson, Resolve to Save Lives
3. การหารือแนวทางการดำเนินการต่อไปในการขับเคลือนงานลดโซเดียมของประเทศไทย 3 ประเด็น ได้แก่ มาตรการทางภาษีความเค็ม มาตรการควบคุมการตลาดฯ และการกำหนดเกณฑ์ปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมในมาตรการที่เกี่ยวข้อง
- ผู้เทนสำนักโภชนาการ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นมาตรการควบคุมการตลาดฯ โดยมีข้อเสนอแนะจากการร่วมหารือสำหรับการดำเนินการระยะสั้น คือ การสื่อสารเพื่อสร้างกระแสสังคม กิจกรรมลงชื่อเพื่อสนับสนุน (ร่าง) พ.ร.บ.ฯ และการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในสังคม และสำหรับการดำเนินการระยะยาว คือ การจัดตั้งทีมเผ้าระวัง ติดตามการตลาดอาหาร HFSS และการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบหลังจากออกกฎหมาย