คุณกำลังมองหาอะไร?

กิจ

กิจกรรมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานโภชนาการในระดับพื้นที่เพื่อต่อยอดการพัฒนาเป็นสถานประกอบการสาวไทยแก้มแดงต้นแบบ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

05.07.2567
118
0
แชร์
05
กรกฎาคม
2567

สรุปประเด็น

กิจกรรมติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานโภชนาการ
ในระดับพื้นที่เพื่อต่อยอดการพัฒนาเป็นสถานประกอบการสาวไทยแก้มแดงต้นแบบ
วันที่ 2 – 3 กรกฎาคม 2567 ณ จังหวัดบุรีรัมย์

---------------------------------

สำนักโภชนาการ บูรณาการร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานโภชนาการในระดับพื้นที่เพื่อต่อยอดการพัฒนาเป็นสถานประกอบการสาวไทยแก้มแดงต้นแบบ ณ โรงพยาบาลประโคนชัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลุงเก่า อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ 8 ตำบลตลุงเก่า และบริษัท รับเบอร์แลนด์ โปรดักส์ จำกัด สาขาบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 2 – 3 กรกฎาคม 2567

ประเด็นการติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ดังนี้

1. ระบบบริการการจ่ายยาเสริมธาตุเหล็กตามชุดสิทธิประโยชน์ของโรงพยาบาลประโคนชัย และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลุงเก่า ได้แก่

  • ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิก ในหญิงวัยเจริญพันธุ์
  • ยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก ในหญิงตั้งครรภ์
  • ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ในเด็ก 6 เดือน – 5 ปี
  • ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก ในเด็ก 6 – 12 ปี

2. ระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางและโรคขาดสารไอโอดีนของโรงพยาบาลประโคนชัย เพื่อพัฒนา Template ตัวชี้วัดเฝ้าระวังด้านโภชนาการในระบบ Health Data Center

3. การขับเคลื่อนการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ได้แก่

  • ชุมชนหมู่บ้านไอโอดีน
  • Smart อสม. แอพพลิเคชันติดตามการกินยาของหญิงตั้งครรภ์
  • ระบบ 3 หมอรู้จักคุณ

4. การขับเคลื่อนโครงการสาวไทยแก้มแดงในสถานประกอบการของบริษัท รับเบอร์แลนด์ โปรดักส์ จำกัด สาขาบุรีรัมย์

5. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ดี เช่น เมนูชูสุขภาพ Healthy canteen Healthy Meeting

 

ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขของพื้นที่

1. ประเด็นระบบการเบิกจ่ายยาเสริมธาตุเหล็กตามชุดสิทธิประโยชน์

  • ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิกในหญิงวัยเจริญพันธุ์ บูรณาการร?วมกับคลินิค Preconception care clinic และคลินิคส่งเสริมการมีบุตร โดยการจ?ายยา Ferrous/Folic ในคลินิค และกําหนดระบบการส?งต่อ ติดตาม บูรณาการกับ อสม.และพยาบาลแจกยาให้คู่แต่งงานในชุมชนเป็นของขวัญ รณรงค์ร่วมกับเทศบาล/อบต.ประชาสัมพันธ์รับยาที่รพ.สต.ใกล้บ้าน และดำเนินการผ่านโครงการสาวไทยแก้มแดงผ่านสถานประกอบการนำร่อง 2 บริษัท มีหญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับยาตามรายการ PP Fee-schedule จำนวน 38,344 คน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร โดยบันทึกข้อมูลและส่งออก 16 แฟ้ม E-claim สปสช. เพื่อเบิกจ่าย
  • ยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก ในหญิงตั้งครรภ์ หากมาฝากครรภ์ที่ รพ. หรือ รพ.สต. จะจ่ายยาให้ทุกเคส และ รพ.ประโคนชัย จะประสานการใช้แอพพลิเคชัน Smart อสม. ติดตามหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ให้ได้รับและกินยาเม็ดเสริมไอโอดีนวันละ 1 เม็ดทุกวันจนคลอด และหลังคลอด 6 เดือน จากรายงานระบบ 3 หมอรู้จักคุณ
  • ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ในเด็ก 6 เดือน – 5 ปี ดำเนินการผ่านคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอประโคนชัย (คปสอ.) โดยจ่ายยาน้ำผ่าน Well Child Clinic ดําเนินการตาม Flow แนวทางการดูแลภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ของ คปสอ.ประโคนชัย
  • ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก ในเด็ก 6 – 12 ปี รพ.ประโคนชัย จะทราบจำนวนเด็กที่อยู่ในโรงเรียนในพื้นที่ที่รับผิดชอบทั้งหมด 10 โรงเรียน ประสานผ่านครูอนามัยโรงเรียนและออกหน่วยเพื่อเจาะเลือดเด็ก ป.1 หากพบซีดจะส่งต่อรักษา ส่วนเด็กที่ปกติก็จะได้รับยาเม็ดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยพบปัญหา เช่น ผู้ปกครองไม่เข้าใจ ไม่ยอมให้กินยา พื้นที่แก้ไขโดยการสื่อสารข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง หรือใช้เทคนิคคำว่า “ยาเม็ดเสริมความฉลาด” และจัดทำเป็นหนังสือราชการจากโรงเรียนถึงผู้ปกครอง
  • ก้าวต่อไป สำนักโภชนาการ ร่วมกับศูนย์อนามัย เพิ่มการประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องประโยชน์ของกินกินยาควบคู่กับการกินอาหารตามหลักโภชนาการ และช่องทางการรับยาตามชุดสิทธิประโยชน์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของแต่ละหน่วยงาน

 

2. ประเด็นเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

  • รพ.ประโคนชัย มีการจัดเก็บข้อมูลภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ โดยมีการบันทึกข้อมูลผลเลือด 3 ครั้ง ตามรอบการนัดหมายเจาะลือด คือ Lab1 (ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์), Lab2 (อายุครรภ์ 30 – 32 สัปดาห์), Lab at Labor (ก่อนคลอด) ซึ่งจะสามารถติดตามตลอดการตั้งครรภ์จนคลอด จึงสามารถให้ intervention และการรักษาได้ทันท่วงที ผ่านระบบ HOSxP XE ของ รพ. และส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ HDC ระดับจังหวัดและระดับประเทศตามลำดับ โดย สสจ.บุรีรัมย์ ได้มีการจัดทำระบบกำกับติดตามตัวชี้วัดของระดับจังหวัด ซึ่งภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดกำกับติดตามเช่นกัน โดยจะเป็นการแสดงผลการตรวจภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ทั้ง 3 ครั้ง (Lab 1, 2, Labor) ซึ่งการแสดงผลดังกล่าวมีความแตกต่างจากระบบ HDC กระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน 
  • สถานการณ์ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ยังคงพบปัญหาในพื้นที่ โดยเฉพาะการเจาะเลือดในการฝากครรภ์ ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 แต่ปัญหาลดลงเมื่อเจาะเลือดก่อนคลอด เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแล ให้คำแนะนำด้านอาหารโภชนาการ การกินยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีน และกรดโฟลิก และนัดหมายเจาะเลือดซ้ำ ดูแลรักษาต่อเนื่องโดยสูติแพทย์/พยาบาล อีกทั้ง รพ.ประโคนชัย มีแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางที่ชัดเจน ผ่านคณะกรรมการ MCH Board เขตสุขภาพที่ 9
  • เมื่อวิเคราะห์ปัญหาเชิงลึกพบว่า หญิงตั้งครรภ์มักมีภาวะโลหิตจางในการเจาะเลือดครั้งที่ 2 มากขึ้น ซึ่งสาเหตุเกิดจากส?วนใหญ่เป็นหญิงตั้งครรภ?วัยรุ?นขาดความรู้ความตระหนักถึงการดูแลระหว่างตั้งครรภ์และผลกระทบของภาวะโลหิตจาง >> การฝากครรภ์ล่าช้า (late ANC) >> การเข?าถึงบริการล่าช้า นอกจากนี้ยังมีผลมาจากการย้ายถิ่นฐานของหญิงตั้งครรภ?ที่ฝากครรภ?จากที่อื่น แต่กลับมาคลอดในพื้นที่ ปัญหาการดูแลและแก?ป?ญหายังไม?ครอบคลุม เช?น การกํากับเรื่องอาหาร/โภชนาการ/การกินยาของกลุ?มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโลหิตจางไม?เป?นระบบ หรือเข?มข?นพอในการติดตามตัวชี้วัด
  • แนวทางการแก้ไขของพื้นที่ ในกรณีที่การเจาะเลือด ครั้งที่ 1 แล้วพบว่าซีด แก้ไขโดยเน้นเชิงรุก
    การค้นหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ในชุมชน โดยประสานผ่าน อสม./รพ.สต. เพื่อเข้ารับบริการ ANC ก่อน 12 สัปดาห์ เน้นร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น การให้ความรู้การตั้งครรภ์กับวัยรุ่น ทั้งในสถานศึกษา และในชุมชน ประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์ร่วมกับโภชนากรทุกราย และติดตามเป็นระยะ มีการ Coaching เน้นสอน เน้นการสื่อสารการดูแลที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมแก่บุคคลากร อีกทั้งวิเคราะห์ผลการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตาม Guideline เป็นรายบุคคล โดยเฉพาะรายที่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย/Iron Deficiency เพื่อดู Improvement และในกรณีที่ผลการรักษาไม่ดีขึ้นควรมีการวิเคราะห์หาสาเหตุและให้การแก้ไขเพิ่มเติม

ก้าวต่อไป สำนักโภชนาการร่วมกับศูนย์อนามัย รับประเด็นมาหารือในการปรับ Template และการเขียนเงื่อนไขการประมวลผล เพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับทีมผู้พัฒนาระบบ HDC สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขต่อไป โดยเสนอปรับ ดังนี้

  • หญิงตั้งครรภ์: เพิ่มการแสดงผลเป็น Lab1 Lab2 Lab at Labor (ก่อนคลอด)
  • เด็กปฐมวัย: การได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ให้เพิ่ม column เด็กทั้งหมดในพื้นที่ที่มารับบริการ โดยไม่ผูกกับแฟ้ม EPI เพื่อต้องการดูภาระงานของหน่วยบริการได้
  • เด็กวัยเรียน: เพิ่ม Template ภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียน

3. ประเด็นการขับเคลื่อนการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน

  • ปัจจุบัน รพ.สต.ตลุงเก่า ขับเคลื่อนชุมชนหมู่บ้านไอโอดีนได้ระดับเงิน โดยพื้นที่รับปฏิบัตินโยบาย/มาตรการการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ อบรมให้ความรู้โรคขาดสารไอโอดีน แจกตัวตัวอย่างเกลือ สื่อให้ความรู้โรคขาดสารไอโอดีนให้กับประชาชนในพื้นที่ผ่านโครงการพระราชดำริฯ ดำเนินการผ่านกรรมการหมู่บ้านตรวจสอบคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีน โดยใช้ I-Kit ในร้านค้าหมู่บ้านและครัวเรือน มีแหล่งจำหน่ายเกลือเสริมไอโอดีนและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน เช่น น้ำปลา ซอส ซีอิ๊ว ร้านค้ามีการจำหน่ายเกลือเสริมไอโอดีน และผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน เช่น น้ำปลาซอสซีอิ๊ว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ร้านอาหารมีการใช้เกลือเสริมไอโอดีน และผลิตภัณฑ์ปรุงรสเสริมไอโอดีนในการปรุงประกอบอาหาร
  • ปัญหาและอุปสรรค พบขาดการเก็บข้อมูลการประเมินความรู้และการปฏิบัติเรื่องการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของผู้นำ/แกนนำชุมชนและประชาชน
  • แนวทางแก้ไข ควรเก็บข้อมูลการประเมินความรู้และการปฏิบัติเรื่องการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของผู้นำ/แกนนำชุมชนและประชาชน เพื่อนำมาการสร้างรูปแบบความรอบรู้และพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนต่อไป
  • ก้าวต่อไป สำนักโภชนาการ ชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนชุมชนหมู่บ้านไอโอดีนให้บรรลุเป้าหมายร้อยละ 70 ในปีงบประมาณ 2568 และเน้นย้ำให้ชุมชนหมู่บ้าน ของบประมาณดำเนินการจากกองทุนสุขภาพตำบล และร่วมเป็นวิทยากร (ผ่านระบบ Zoom meeting) ในการพัฒนาศักยภาพ อสม. แกนนำ เพื่อควบคุมป้องกันและควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนให้กับพื้นที่ต่อไป

4. ประเด็นการขับเคลื่อนโครงการสาวไทยแก้มแดงในสถานประกอบการของบริษัท รับเบอร์แลนด์
โปรดักส์ จำกัด สาขาบุรีรัมย์

  • บริษัท รับเบอร์แลนด์ โปรดักส์ จำกัด สาขาบุรีรัมย์ ผ่านเกณฑ์ประเมินเป็นสถานประกอบการสาวไทยแก้มแดงต้นแบบ ปี 2566 โดยผู้บริหารของบริษัทได้ให้ความสำคัญกับโครงการส่งเสริมสุขภาพของพนักงาน จึงมีนโยบายและมาตรการที่สอดรับกับโครงการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางนี้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งทางบริษัทจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เรื่องการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กและโฟเลต ผ่าน Line, เสียงตามสาย, บอร์ดประชาสัมพันธ์, ป้ายบนโต๊ะอาหาร มีการจัด Healthy break, Healthy Canteen, เมนูชูสุภาพ เป็นต้น หญิงวัยเจริญพันธุ์ในสถานประกอบการสมัครใจกินยา Ferrofolic 27 คน และมีผลเลือดจากการตรวจสุขภาพประจำปีในภาพรวมดีขึ้น
  • ปัญหาและอุปสรรค พนักงานสมัครใจกินยาจำนวนไม่มากเนื่องจากมีความเชื่อว่ากินยาแล้วจะทำให้เจริญอาหาร แล้วจะอ้วนง่าย และเจ้าหน้าที่บางคนยังไม่เข้าใจคำว่า สาวไทยแก้มแดง คืออะไร สำหรับประเด็นการสมัครขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการของ สปสช. พบว่ายังไม่ได้ดำเนินการ แต่เสนอผู้บริหารไว้เป็นทางเลือกได้ เนื่องจากเกณฑ์ต้องมีลูกจ้างมากกว่า 200 คน แต่ที่บริษัทมีจำนวนลูกจ้างทั้งหมดถึงเกณฑ์ก็จริง แต่แบ่งรอบทำงานเป็นกะ และมีการใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีกับโรงพยาบาลเอกชนอยู่แล้ว ดังนั้นปัญหาเรื่องการเชื่อมข้อมูลภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์จากฐานโรงพยาบาลเอกชน จึงไม่ถูกรวมไว้ใน Health data center
  • แนวทางการแก้ไข ศูนย์อนามัยปรับวิธีการสื่อสารและทำ Flow การดำเนินงานสาวไทยแก้มแดงในสถานประกอบการให้ดูง่ายขึ้น เพื่อนำไปประชาสัมพันธ์ขยายผลต่อในสถานประกอบการอื่น
  • ก้าวต่อไป สำนักโภชนาการ ปรับปรุงออกแบบและทดสอบความเข้าใจสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สถานประกอบการสาวไทยแก้มแดงต้นแบบ” โดยเพิ่มความเจาะจงของข้อมูลตามข้อแนะนำของพื้นที่ เช่น ความเชื่อว่ากินยาเสริมธาตุเหล็กแล้วจะทำให้อ้วน หญิงที่ทำงานกะดึกกับการกินอาหารหรือยา แก้ไขความชัดเจนของนิยามสาวไทยแก้มแดง แล้วพัฒนาเป็นรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่ายมากขึ้น แล้วนำไป Try out ก่อนให้พื้นที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

5. ประเด็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ดี

  • ปัญหาที่พบ ในโรงพยาบาลประโคนชัย ยังไม่ได้มีการดำเนินการ Healthy canteen และ รพ.สต.ตลุงเก่า ยังไม่ได้มีการจัด Healthy Meeting ที่เหมาะสม
  • แนวทางการแก้ไข ให้คำแนะนำแนวทางการประยุกต์ใช้เกณฑ์ เมนูชูสุขภาพ Healthy Meeting ตามบริบทของพื้นที่ เช่น ปรับจากขนมหวาน 2 ชิ้น เปลี่ยนเป็นผลไม้ หรือน้ำสมุนไพร ควรใช้เกณฑ์หวานน้อยร้อยละ 5 เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และให้ข้อมูลแนวทางการดำเนินงานกับพื้นที่ ทั้ง รพ.ประโคนชัย รพ.สต.ตลุงเก่า และบริษัทศรีตรัง โดยประสานให้ศูนย์อนามัยที่ 9 เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน