คุณกำลังมองหาอะไร?

2

20 มิถุนายน 2567 กรมอนามัยร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ “เด็กไทย กินอย่างไร สุขภาพดี รู้เท่าทันการตลาดอาหาร หวาน มัน เค็ม”

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.07.2567
37
0
แชร์
06
กรกฎาคม
2567

ประธานการประชุม : นพ.ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย  
กล่าวรายงานโดย : พญ.วิสารัตน์ ธีระโกเมน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักโภชนาการ

ผู้เข้าร่วมประชุม : กรมอนามัย สถาบันส่งเสริมบทบาทพ่อแม่เพื่อสังคม เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย สมาคมเครือข่าย
โรคไม่ติดต่อไทย องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย องค์การยูนิเซฟประเทศไทย แผนงาน WHO CCS-NCD และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กลุ่มเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครอง และประชาชน รวมทั้งสิ้นประมาณ 250 คน

วัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างความรอบรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งเป็นการสร้างกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับสนับสนุนการขับเคลื่อนมาตรการทางกฎหมายปกป้องเด็ก
จากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก

ประเด็นสำคัญของการประชุม การจัดกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก โดยมีรายละเอียดดังนี้

กิจกรรม 1 การบรรยายสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กไทย ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับเด็ก
และการตลาดอาหารและเครื่องดื่มหวานมันเค็มต่อสุขภาพเด็ก เพื่อสร้างความรู้ด้านการบริโภคอาหาร
โดย พญ.วิสารัตน์ ธีระโกเมน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักโภชนาการ มีสาระสำคัญ ดังนี้
- สถานการณ์เด็กไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า ใน 20 ปีที่ผ่านมา และเด็กป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น  จึงสื่อสารข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับเด็ก เช่น การบริโภคอาหารตามสัดส่วนธงโภชนาการ การเลือกผลิตภัณฑ์ การรู้เท่าทันการตลาดอาหารหวานมันเค็ม ซึ่งการตลาดกระตุ้นให้เด็กซื้อและบริโภคเกินจำเป็น และไม่เป็นไปตามข้อแนะนำโภชนาการ

กิจกรรม 2 การเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ผลกระทบของการตลาดอาหารและเครื่องดื่มหวานมันเค็มต่อพฤติกรรมสุขภาพ และทำอย่างไรให้เด็กลดการกินอาหารและเครื่องดื่มหวานมันเค็ม”
ดำเนินการเสวนาโดย  คุณฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมบทบาทพ่อแม่เพื่อสังคม

-  ดร.นงนุช จินดารัตนาภรณ์  อาจารย์สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากผลการวิจัยการตลาดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้การ์ตูน การใช้พรีเซ็นเตอร์ ป้ายลดราคาการส่งเสริมการขาย แลก แจก แถม ซึ่งเด็กประมาณ 70-80% พบเห็นการตลาดอาหาร มีผลต่อความชอบประมาณครึ่งหนึ่ง และทำให้ซื้อและบริโภค ประมาณ 40% ซึ่งสรุปว่าการตลาดอาหารฯ มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อและการบริโภค ซึ่งเสนอให้กระทรวงสาธารณสุข ควรเร่งการออกกฎหมายหารควบคุมการตลาดอาหารที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก
- กลุ่มตัวแทนเด็ก และพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหลักจากประเด็นดังกล่าว เห็นสอดคล้องกันว่าการตลาดมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งต้องพยายามห้ามปรามตนเองไม่ให้ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมที่บ้านเอื้อต่อการบริโภคอาหารหวานมันเค็ม

กิจกรรม 3 เสวนา “มุมมองและแนวทางปกป้องเด็กจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มหวานมันเค็มหรืออาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ”
ดำเนินการเสวนาโดย ดร.เภสัชกรหญิงธนพันธ์ สุขสอาด สมาคมเครือข่าย โรคไม่ติดต่อไทย ร่วมกับทีมวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกประเทศไทย กล่าวถึง ข้อเสนอแนะระดับโลกล่าสุด พ.ศ.2566 เสนอให้ดำเนินการมาตรการภาคบังคับในการปกป้องเด็กทุกกลุ่มวัยจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มหวานมันเค็มทุกรูปแบบ ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย สนับสนุนมาตรการดังกล่าวเป็นสิทธิที่เด็กควรได้รับภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมบทบาทพ่อแม่เพื่อสังคม เสนอให้ควรปลูกฝังจากสถาบันครอบครัว ถือเป็นการสร้างพฤติกรรมการบริโภคตั้งแต่สามารถรับรู้ได้ ทำให้จดจำอาหารที่ดี ไม่จำเป็นต้องมีรสชาติหวาน มัน เค็ม รวมทั้งควรจำกัดช่วงเวลาในการเสพสื่อต่างๆ ประธานเครือข่ายสิทธิเด็ก เสนอให้ต้องดำเนินสร้างความรอบรู้ให้เด็กเลือกบริโภคอย่างเหมาะสม โดยผลักดันกฎหมายควบคู่กันไป เนื่องจากการพิจารณากฎหมายใช้ระยะเวลานาน และสุดท้ายผู้แทนสำนักโภชนาการ กล่าวว่า ประเทศไทยดำเนินการสร้างเสริมความรอบรู้และสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง แต่การวิจัยตามมาตรการและตัวชี้วัดเพื่อยุติโรคอ้วนในเด็กพบว่ายังขาดมาตรการนี้ กรมอนามัยจึงร่วมกับภาคีเครือข่ายร่างพระราชบัญญัติควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กขึ้น ซึ่งได้ผ่านการประชาพิจารณ์ ปรับแก้ไข และอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้บริหาร โดยขอความร่วมมือทุกภาคส่วนร่วมปกป้องเด็กไทยจากประเด็นดังกล่าว
- สมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย จึงได้จัดทำการรณรงค์ผ่านเว็บไซด์ Change.org ในการร่วมลงชื่อ "https://chng.it/rn4VXMmL5N" เพื่อปกป้องเด็กไทยจากการตลาดอาหารหวานมันเค็ม สำหรับการสนับสนุนการขับเคลื่อนกฎหมายจากประชาชน

กิจกรรม 4 กิจกรรมรณรงค์ออนไลน์ผ่าน Facebook “ร่วมปกป้องเด็กไทยจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ” เพื่อสร้างกระแสสังคม และสร้างกล่มผู้สนับสนุนการขับเคลื่อนมาตรการทางกฎหมาย

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน