คุณกำลังมองหาอะไร?

1

16 กรกฎาคม 2567 ประชุมเพื่อคืนข้อมูลให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการติดตามการตลาดอาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทย และการสร้างความร่วมมือในการติดตามการตลาดอาหารฯ ภายใต้ “โครงการวิจัยการติดตามการตลาดอาหารและเครื่องดื่มในเด็กของประเทศไทย”

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.07.2567
56
0
แชร์
16
กรกฎาคม
2567

พญ.อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย มอบหมาย ดร.นพ.ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานเปิดการประชุมฯ

ผู้วิจัยหลัก :  อาจารย์ ดร.นงนุช จินดารัตนาภรณ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้เข้าร่วมประชุม :  Associate Professor Bridget Kelly, University of Wollongong, Australia ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการโครงการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมการปกครอง สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา บริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) สาขาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) สาขาท่าอากาศยานดอนเมือง การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมเจ้าท่า กรมเจ้าท่า กรมการขนส่งผู้โดยสาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย องค์การยูนิเซฟประเทศไทย แผนงาน WHO CCS-NCD  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักโภชนาการ กรมอนามัย นำโดย ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ พร้อมด้วยนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้นประมาณ 40 คน 

วัตถุประสงค์ : เพื่อคืนข้อมูลให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการติดตามการตลาดอาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทยให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการขับเคลื่อน (ร่าง) พระราชบัญญัติควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก ภายใต้โครงการวิจัยซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล 
 

ประเด็นสำคัญจากการประชุมฯ

1. การนำเสนอการตลาดอาหารต่อเด็กทั่วโลก: กฎหมาย การติดตาม และการประเมินผล
โดย Associate Professor Bridget Kelly, University of Wollongong, Australia (ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดอาหารต่อสุขภาพเด็กระดับโลก )

 โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้
- สถานการณ์ของการพบเห็นสื่ออาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของเด็ก ผลกระทบของการตลาดต่อสุขภาพเด็ก
- ข้อแนะนำเชิงนโยบายปกป้องเด็กจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มซึ่งล่าสุดทาง WHO Guidelines เสนอว่า ควรดำเนินการมาตรการภาคบังคับในการปกป้องเด็กทุกกลุ่มวัยจากการตลาดอาหารที่มีปริมาณไขมัน น้ำตาล หรือโซเดียมสูง
- ตัวอย่างการดำเนินการหลายๆ ประเทศ เช่น UK ประเทศชิลี กฎหมายควบคุมการตลาดอาหารที่มีปริมาณไขมัน น้ำตาล หรือโซเดียมสูง ทำให้ลดการพบเห็นสื่อการตลาดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และลดพฤติกรรมการซื้ออาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพได้ และการศึกษาคาดการณ์พบความคุ้มค่าคุมทุนทางเศรษฐกิจด้วย
- Logic model for M&E Framework ซึ่งสามารถกำกับติดตามได้ ตั้งแต่กระบวนการ Policy implementation สู่ Policy outcome ลดการพบเห็น ลดความชอบ
   ลดการบริโภค และลดเสี่ยงโรคอ้วนในเด็ก ซึ่งเป็นเป้าหมายของนโยบายเพื่อการปกป้องเด็กจากอันตรายของการตลาดอาหาร


2.
การนำเสนอผลการศึกษาวิจัยการติดตามการตลาดอาหารและเครื่องดื่มในเด็กของประเทศไทย ประเด็นการโฆษณาอาหารทางโทรทัศน์
โดย อ.ดร.นงนุช จินดารัตนาภรณ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล  
โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้
- วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยเพื่อศึกษาสถานการณ์การทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในเด็กของประเทศไทย  

- การเก็บข้อมูลโฆษณาจาก 16 ช่องสถานี เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 31 วัน (ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 ตุลาคม 2566) ผ่านสื่อโทรทัศน์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนข้อมูลจาก กสทช.
- การโฆษณาอาหารในช่องทางโทรทัศน์ 49,661 ชิ้น คิดเป็น 37% จากโฆษณาทั้งหมด
- อาหารและเครื่องดื่มที่โฆษณาในโทรทัศน์ไม่ดีต่อสุขภาพมากกว่าดีต่อสุขภาพ โดย 54% มีปริมาณไขมัน น้ำตาล หรือโซเดียมเกินเกณฑ์มาตรฐานโภชนาการที่ WHO-SEARO กำหนด และมีเพียง 15% ที่ผ่านเกณฑ์ (32% ไม่สามารถประเมินได้ เนื่องจากอาหารและเครื่องดื่มดังกล่าวไม่มีข้อมูลโภชนาการ)
- เทคนิคการส่งเสริมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มทีมีปริมาณไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง ส่วนใหญ่เป็นการโฆษณา โดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง (80%) Premium offers (9%) และการชิงโชค (8%) ซึ่งรูปแบบการตลาดดังกล่าวยังไม่มีกฎหมายควบคุมเฉพาะ
- การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า เด็ก Gen Z มีแนวโน้มใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ช่องทางอินเตอร์เน็ตเป็นหนึ่งช่องทางสำคัญที่เด็กจะได้รับผลกระทบจากการกระตุ้นจากการตลาดอาหาร
- ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: รัฐบาลไทยควรออกกฎหมายเพื่อควบคุมโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพเพื่อปกป้องสุขภาพของเด็กไทย

3. การนำเสนอการขับเคลื่อน (ร่าง) พ.ร.บ.ฯ และการสร้างความร่วมมือในการติดตามการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก
โดย ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย

โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้
- สถานการณ์โรคอ้วนในเด็กเพิ่มสูงขึ้น 2 เท่า สาเหตุจากพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งการบริโภคอาหารที่มีปริมาณไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง และกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ซึ่งการตลาดอาหารกระตุ้นให้บริโภคอาหารที่มีปริมาณไขมัน น้ำตาลและโซเดียมสูงเพิ่มขึ้น
- มาตรการปกป้องเด็กจากการตลาดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพเป็นช่องว่างสำคัญของประเทศไทยในการศึกษามาตรการยุติโรคอ้วนในเด็กตามข้อเสนอแนะ WHO-Ending Childhood Obesity (WHO-ECHO) ซึ่งยังไม่มีกฎหมายควบคุมเฉพาะ โดยมาตรการดังกล่าวสอดคล้องกับทั้งข้อเสนอแนะระดับโลกและระดับประเทศ
- กรมอนามัย ร่วมกับภาคเครือข่าย จึงได้พัฒนา (ร่าง) พระราชบัญญัติควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก เจตนารมณ์เพื่อปกป้องเด็กไทยจากการตลาดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายต่อไป
- การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนข้อมูลสถานการณ์การตลาดอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนร่างกฎหมาย และร่วมติดตาม/เฝ้าระวังการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อร่วมปกป้องสุขภาพของเด็กไทย

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน