คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงอาหารตลอดห่วงโซ่ ครั้งที่ 2/2567 (21 สิงหาคม 2567)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

21.08.2567
59
1
แชร์
21
สิงหาคม
2567

วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2567 พญ.อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย มอบหมาย ดร.พญ. สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงอาหารตลอดห่วงโซ่ ครั้งที่ 2/2567 ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร ชั้น 2 (AEOC) อาคารสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรุงเทพฯ

ประธานการประชุม: นายสัตวแพทย์ยุคล ลิ้มแหลมทอง ประธานกรรมการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงอาหารตลอดห่วงโซ่

ผู้เข้าร่วมประชุมฯ:  คณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงอาหารตลอดห่วงโซ่ (คณะที่ 1) ภายใต้คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
และผู้เข้าร่วมประชุมจากกรมอนามัย ประกอบด้วย ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ และบุคลากรสำนักโภชนาการ

วัตถุประสงค์การประชุม : เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนขับเคลื่อนการลดการสูญเสียอาหารในห่วงโซ่การผลิต พ.ศ.2566-2570 (ร่าง) แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยอาหารสำหรับการบริจาคอาหาร และค่าความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากรในระดับปานกลางหรือรุนแรง และระดับรุนแรง และเพื่อติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงอาหารตลอดห่วงโซ่

ประเด็นสำคัญจากการประชุมฯ

1. แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567
- มติที่ประชุม : รับทราบ

2. แนวทางการขับเคลื่อนค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทยฯ ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงอาหาร (โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) ซึ่งประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกรมอนามัย ในเป้าหมายที่ 1 จำนวนคนขาดแคลนอาหารลงลง ตัวชี้วัดที่ 1.1 สัดส่วนประชากรที่ขาดแคลนสารอาหารต่อจำนวนประชากรทั้งหมด ในข้อมูลสำคัญระดับจังหวัดข้อ 2. ปริมาณความต้องการสารอาหารขั้นต่ำของประชากรในระดับจังหวัด
- มติที่ประชุม : รับทราบ

3. พิจารณา (ร่าง) แผนขับเคลื่อนการลดการสูญเสียอาหารในห่วงโซ่การผลิต พ.ศ.2566-2570 (โดย กรมวิชาการเกษตร) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางการขับเคลื่อนฯ ด้วยแผนงานที่ชัดเจน มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
- มติที่ประชุม : รับรองแผนงานและกรมวิชาการเกษตรพิจารณาข้อสังเกตเกี่ยวกับค่าเป้าหมายตัวชี้วัดจากที่ประชุมเพิ่มเติม

4. พิจารณา (ร่าง) แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยอาหารสำหรับการบริจาคอาหาร (โดย กรมควบคุมมลพิษ)
ซึ่งประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกรมอนามัยเกี่ยวกับอาหารที่ต้องการบริจาคควรผ่านหลักสุขาภิบาลอาหาร อ้างอิง
ตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จําหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561
(แนวปฏิบัติฯ การบริจาคอาหาร ไม่มีผลภาคบังคับ)

- มติที่ประชุม : เห็นชอบต่อร่างแนวปฏิบัติฯ โดยมีการแก้ไขอาหารที่จะนำไปบริจาคต้องผ่านระบบการควบคุมความปลอดภัยอาหารที่ผลิตขึ้นเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดสำคัญของอาหารชนิดนั้นๆ

5. พิจารณาผลความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากรในระดับปานกลาง หรือรุนแรง และระดับรุนแรง (โดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ) ซึ่งผลการเปรียบเทียบความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหาร (FIES) ดีขึ้น ระหว่างปี 2565 และ 2567 โดยระดับปานกลางหรือรุนแรงจาก 6.85% เหลือ 4.40% และระดับรุนแรง 1.27% เหลือ 0.65% ตามลำดับ
- มติที่ประชุม : เห็นชอบผลความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหาร ทั้งนี้ ผลข้อมูลดังกล่าวอยู่ระหว่างการหารือกับ FAO และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ เพื่อเผยแพร่และอ้างอิงได้ และทางสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ขอรับการสนับสนุนด้านวิชาการจาก FAO ในการหาค่า FIES และสัดส่วนประชากรที่ขาดแคลนสารอาหารต่อจำนวนประชากรทั้งหมด (POU) แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

6. ประเด็นอื่นๆ : ควรพิจารณาความมั่นคงของอาหารสัตว์เพิ่มเติม เพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดภาวะสงคราม เนื่องจากอาหารสัตว์ส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ อาจทำให้ขาดแคลนและทำให้เนื้อสัตว์ในการบริโภคในภาวะวิกฤตไม่เพียงพอ
- มติที่ประชุม : มอบหมายทีมเลขานุการ เตรียมประเด็นสำหรับเข้าหารือในที่ประชุมครั้งถัดไป

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน