คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบเฝ้าระวังและติดตามการขาดสารไอโอดีนในกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 1/2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

29.08.2567
92
0
แชร์
29
สิงหาคม
2567

ประธานอนุกรรมการ : แพทย์หญิงแสงโสม สีนะวัฒน์ Iodine Global Network, National Coordinator

รองประธานอนุกรรมการ : ดร.แพทย์หญิงสายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย

ผู้เข้าร่วมประชุม : คณะอนุกรรมการฯ ประกอบด้วย ที่ปรึกษากองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประธานชมรมผู้ประกอบการเกลือเสริมไอดีน ภาคกลาง ผู้แทนจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรมสุขภาพจิต สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กองสาธารณสุขท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ สำนักคุณภาพละความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ และ สำนักโภชนาการ รวม 25 ท่าน

วัตถุประสงค์ : 

  1. เพื่อติดตามสถานการณ์และการดำเนินงานเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน แพลตฟอร์มไอโอดีน ข้อมูลการใช้เกลือไอโอดีนในระดับอุตสาหกรรม และผลการเฝ้าระวังปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภค
  2. เพื่อพิจารณา (ร่าง) รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพ ในการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ และเกณฑ์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะใน เด็กอายุ 3 – 5 ปี

ประเด็นสำคัญ :

  1. รายงานสถานการณ์ตัวชี้วัดด้านไอโอดีนระดับประเทศ ได้แก่
    • ค่ามัธยฐานระดับไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ (ก่อนได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน)
    • ค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กอายุ 3-5 ปี
    • ค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะของผู้สูงอายุ
    • การได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์
    • ครัวเรือนมีการใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพ
    • จำนวนชุมชนหมู่บ้านไอโอดีน
    • จำนวนร้านค้า/ร้านอาหารไอโอดีน
  2. ช่องว่าง (GAP) การดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
    • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน ยังมีช่องว่างที่ทําให้ผู้ประกอบการ ไม่เสริมไอโอดีนได้ ซึ่งปัจจุบันยังพบเกลือบริโภคที่เสริมไอโอดีนในพื้นที่ และออนไลน์
    • การควบคุม กํากับติดตาม ณ สถานที่ผลิต สถานที่จําหน่ายและในครัวเรือนให้มีความครอบคลุมเกลือเสริมไอโอดีนตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก ยังล่าช้า
    • การสร้างความรอบรู้ให้ประชาชน ทุกกลุ่มวัยเกิดความตระหนักเกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีนและเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนได้อย่างถูกต้อง การสื่อสารรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ยังไม่เพียงพอ
    • การได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ดีขึ้น แต่ยังต้องเพิ่มการดําเนินงานให้ครอบคลุมและเพิ่มระบบการติดตามการกินยาเม็ดเสริมไอโอดีน
    • การกําหนดนโยบายการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในระดับจังหวัด มีเพียงบางจังหวัดเท่านั้น
  3. เพื่อพิจารณารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพ ในการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในกลุ่มเสี่ยง : PAOR มติให้ ทีมเลขานุการปรับรูปแบบ โดยหาข้อมูลจากพื้นที่ต้นแบบให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และนำรูปแบบไปประยุกต์ใช้โดยการจัดทำโครงการในพื้นที่ที่มีปัญหา จากนั้นให้สรุปผลรูปแบบเพื่อนำไปขยายผลต่อไป
  4. เพื่อพิจารณาเกณฑ์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กอายุ 6 – 12 ปี ที่ค่ามัธยฐาน 100 – 299 ไมโครกรัม/ลิตร มติ ประธานจะทำหนังสือประสานกับ Iodine Global Network เพื่อสอบถามถึงประเด็นเกณฑ์ MUI ในเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป ว่าสามารถใช้เกณฑ์ที่ 100 – 299 ได้หรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างการประสาน ให้คงค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะเด็กอายุ 6 ปี ขึ้นไป ที่ 100 – 199 ไมโครกรัม/ลิตร ตาม WHO 2013

 

ก้าวต่อไป : มอบสำนักโภชนาการ ดำเนินการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพ ในการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในกลุ่มเสี่ยง และทบทวนค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะเด็กวัยเรียนให้รอบด้าน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน