คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมการกำหนดค่าเป้าหมายค่าความชุกของ ความไม่มั่นคงทางอาหารของประเทศไทย ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย (6 กันยายน 2567)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.09.2567
85
0
แชร์
06
กันยายน
2567

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2567 พญ.อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย มอบหมาย ดร.พญ. สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ เข้าร่วมประชุม ”การกำหนดค่าเป้าหมายค่าความชุกของ ความไม่มั่นคงทางอาหารของประเทศไทย” ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ณ ห้องประชุม 401 ชั้น 4 สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ประธานการประชุม:
คุณหทัยชนก ชินอุปราวัฒน์ง ผู้อำนวยการกองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ผู้เข้าร่วมประชุมฯ:  เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากกองสถิติพยากรณ์ กองสถิติสังคม กองสถิติเศรษฐกิจ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้เข้าร่วมประชุมจากกรมอนามัย ประกอบด้วย ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ และบุคลากรสำนักโภชนาการ

วัตถุประสงค์การประชุม : เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณาการกำหนดค่าเป้าหมายค่าความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารของประเทศไทย ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย [ตัวชี้วัด 1.3 ความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารระดับรุนแรงในประเทศไทย โดยใช้ Food Insecurity Experience Scale (FIES)]

ประเด็นสำคัญจากการประชุมฯ

1. การจัดทำค่าความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารของประเทศไทย โดยมีการศึกษาผลตัวชี้วัดความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร 2 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับปานกลางหรือรุนแรง (Moderate or severe) และ 2) ระดับรุนแรง (Severe) ซึ่งใช้เครื่องมือ "เกณฑ์การวัดประสบการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร (Food Insecurity Experience Scale: FIES)" ซึ่งประกอบด้วยชุดคำถามมาตรฐาน 8 ข้อ ที่พัฒนาโดย FAO และการสำรวจค่า FIES จะดำเนินการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติทุก 2 ปี 
: ผลการศึกษา ปี 2567 ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร ระดับปานกลางหรือรุนแรง 4.40% (เป้าหมายระดับโลก 5.0%) และระดับรุนแรง 0.65% (เป้าหมายระดับโลก 0.5%) 

มติที่ประชุม : รับทราบ

2. พิจารณาค่าความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารของประเทศไทย โดยการกำหนดค่าเป้าหมายสามารถกำหนดโดย 1) หน่วยงานกำหนดค่าเป้าหมาย อิงตามแผนระดับประเทศ 2)ค่าเป้าหมายเป็น Binary 3) กำหนดค่าเป้าหมายโดยอ้างอิงจากค่าเป้าหมายระดับสากล และ 4) การประเมินค่าเป้าหมายจากการตีความค่าเป้าหมายจาก keyword หรือสูตรที่ใช้คำนวณโดย CAGR
มติที่ประชุม : เห็นชอบกำหนดค่าเป้าหมายโดยอ้างอิงจากค่าเป้าหมายระดับสากล โดยกำหนดให้ความชุกความไม่มั่นคงทางอาหาร ระดับปานกลางที่ 5.0% และระดับรุนแรงที่ 0.5% ซึ่งทางสำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำค่าเป้าหมายค่าความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารของประเทศไทย ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 ในแต่ละปี และแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ

3. พิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนความไม่มั่นคงทางอาหารของประเทศไทย โดย 
1) เพื่อให้บรรลุค่าเป้าหมายที่กำหนด ขอให้หน่วยงานที่มีการกิจในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ โดยเฉพาะมิติการเข้าถึงอาหารของประชากร ซึ่งสะท้อนต่อการวัดความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากรโดยตรง
2) ในกลุ่มประซากรเปราะบางที่มีความเสี่ยงต่อการเข้าถึงอาหาร ควรมีแผนงานนโยบายที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบางให้มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของการประสบความไม่มั่นคงทางอาหารในประชากรกลุ่มนั้น
มติที่ประชุม : เห็นชอบต่อแนวทางการขับเคลื่อนฯ

4. แผนงานการจัดทำตัวชี้วัดความไม่มั่นคงทางอาหาร (FIES) ของประเทศไทยครั้งต่อไป ปี พ.ศ.2569 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ

5. ประเด็นอื่นๆ :
สำนักงานสถิติพร้อมสนับสนุนในการศึกษาหรือวางแผนการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดด้านโภชนาการที่เกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ภายใต้ FIES เช่น ปริมาณการได้รับสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่เพียงพอ ซึ่งวางแผนการหารือร่วมกันกับสำนักโภชนาการ กรมอนามัยต่อไป

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน