กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
วันที่ 30-31 ตุลาคม 2567 กรมอนามัย โดยสำนักโภชนาการ ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนขับเคลื่อนการป้องกันและควบคุมปัญหาโรคอ้วนในเด็ก ณ โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น พลัส แวนด้า แกรนด์
จ.นนทบุรี
ประธานการประชุม : พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย
กล่าวรายงานโดย : ดร.นพ.ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย
ผู้เข้าร่วมประชุม : โดยมีผู้แทนจากหน่วยงาน ดังนี้ สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร สำนักงานสถิติแห่งชาติ กองส่งเสริมการพัฒนาและสวัสดิการเด็ก เยาวชนและครอบครัว สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สมาคมต่อม
ไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นไทย สมาคมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สภาองค์กรของผู้บริโภค กรมประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมควบคุมโรคกรมสุขภาพจิต กรมการแพทย์ และ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กองแผนงาน กรมอนามัย
วัตถุประสงค์ : เพื่อหารือในการจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและควบคุมปัญหาโรคอ้วนในเด็ก ให้เกิดการบูรณาการดำเนินงานในการลดการเกิดภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็กและเยาวชนร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
ประเด็นสำคัญจากการประชุม :
1.การอภิปราย เรื่อง “หยุดวิกฤตโรคอ้วนในเด็ก: ก้าวแรกสู่อนาคตที่ดีกว่า” โดยมีวิทยากร ดังนี้
- พญ. วิสารัตน์ ธีระโกเมน รองผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ ได้กล่าวถึง นโยบายและมาตรการส่งเสริมสุขภาพของเด็กไทยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโรคอ้วนในเด็ก ประเด็นความท้าทายในการส่งเสริมป้องกันและดูแลรักษาโรคอ้วนในเด็ก สู่การขับเคลื่อนวาระแห่งชาติในการหยุดโรคอ้วนในเด็ก
- ศ.เกียรติคุณ พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวถึง สถานการณ์โรคอ้วนในเด็กไทย ผลกระทบต่อสุขภาพและการเรียนการสอน โดยมีความเสี่ยงระยะยาวต่อปัญหาทางเมตาบอลิซึม โรค NCDs ปัญหาทางจิตใจ ปัจจัยแวดล้อมมากมายที่จะทำให้เด็กอ้วน และแสดงถึงความจำเป็นในการที่ต้องจัดการโรคอ้วนในเด็กตั้งแต่เด็กยังเล็ก เพื่อป้องกันผลกระทบในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของเด็ก
- Dr. Olivia Nieveras ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ได้กล่าวถึง การสูญเสียทรัพยากรที่เกิดจากน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โรคอ้วนป้องกันและจัดการได้ แต่มีความซับซ้อนและต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมแผนเร่งรัดการหยุดโรคอ้วนขององค์การอนามัยโลก และมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการจัดการโรคอ้วน
- คุณวิลสา พงศธร ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายพัฒนาวัยรุ่นและการมีส่วนร่วม องค์กรยูนิเซฟ ประเทศไทย ได้กล่าวถึง ความเชื่อมโยงอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และกฎหมายปกป้องเด็กจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ส่งเสริมการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านอาหารในประเทศไทย การพัฒนาข้อมูลและการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและพฤติกรรม และส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉงในเด็ก รวมทั้งการสื่อสาร ชุดข้อความมีความชัดเจนและสม่ำเสมอ โดยข้อความควรมุ่งเน้นไปที่ปัญหาและวิธีการแก้ไข
- คุณสมเกียรติ พิทักษ์กมลพร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับชาติสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวถึง แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะประกอบด้วย พัฒนากลไกร่วมและขับเคลื่อนกลไกเครือข่าย สร้างพื้นที่ความร่วมมือหรือ platform เพื่อสร้างเป้าหมายร่วมและเชื่อมแผนปฏิบัติการร่วม ติดตามหนุนเสริมและสนับสนุนเชิงนโยบายเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามแผนอย่างเป็นรูปธรรม และการจัดการความรู้เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยสาธารณะในพื้นที่
- รศ.ดร.สิรินทร์ยา พูลเกิด สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึง การดำเนินการลดปัญหาโรคอ้วนในเด็กไทยตามกรอบ WHO: Ending Childhood Obesity Framework (ECHO) มีการวิเคราะห์นโยบายรัฐเมื่อปี 2563 เสนอถึงนโยบายมาตรการที่ทำได้ดี และที่ยังเป็นช่องว่าง การทำงานร่วมกันหลายภาคส่วน การติดตามผล ร่วมถึงข้อเสนอแนะเชิงกลไก