กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
สำนักโภชนาการ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาระบบข้อมูลเฝ้าระวังด้านการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจาง
วันที่ 14 – 15 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมอุทัย พิศลยบุตร อาคาร 4 ชั้น 5 สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนา Template และความถูกต้องของข้อมูลเฝ้าระวังภาวะโลหิตจาง ในระบบ Health Data Center
ประธานการประชุม : นายแพทย์กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านส่งเสริมสุขภาพ) ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบเฝ้าระวังการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย
วิทยากร :
นายแพทย์นุกูล ปุ๋ยสูงเนิน นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
นายศักดา ศิริรักษ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นางสาวจันทิพย์ ภูริทัตกุล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นายนวพล ปิ่นโรมา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้เข้าร่วมประชุม :
แพทย์หญิงสายทิพย์ ตัน นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
นางชัชฎา ประจุดทะเก หัวหน้ากลุ่มงานอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
นางกัญญนัท ริปันโน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 10 นครราชสีมา
นายปิยะ ปุริโส นักโภชนาการชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
นายแพทย์สุรัตน์ ผิวสว่าง รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ
แพทย์หญิงวิสารัตน์ ธีระโกเมน รองผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ ฝ่ายวิชาการ
นางสาววารีทิพย์ พึ่งพันธ์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมโภชนาการสตรีและเด็กปฐมวัย สำนักโภชนาการ
นางกานต์ณัชชา สร้อยเพชร รักษาการแทน หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมโภชนาการด้านวิตามินและแร่ธาตุ สำนักโภชนาการ
นางสาวฉวีวรรณ ต้นพุดซา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักส่งเสริมสุขภาพ
นางวรรณชนก ลิ้มจำรูญ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักส่งเสริมสุขภาพ
นางสาวนภาภรณ์ นิมิตเดชกุลชัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองแผนงาน
นายภาสกร สุระผัด นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักโภชนาการ
นางสาวกุลธิดา รักกลัด นักโภชนาการปฏิบัติการ สำนักโภชนาการ
นางสาวสุพรรณณี ช้างเพชร นักโภชนาการปฏิบัติการ สำนักโภชนาการ
ตัวชี้วัดที่ต้องการพัฒนา จำนวน 8 ตัวชี้วัด
1.1 ร้อยละของหญิงที่สิ้นสุดการตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ (Coverage)
1.2 ร้อยละของหญิงที่สิ้นสุดการตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ ได้รับยาเม็ดที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนขณะตั้งครรภ์ (Coverage)
1.3 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในหน่วยบริการ ได้รับยาเม็ดที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน (Workload)
2.5 ร้อยละของเด็กอายุครบ 12 เดือน ในเขตรับผิดชอบ มีภาวะโลหิตจาง (Coverage)
3.5 ร้อยละของเด็กอายุครบ 5 ปี ในเขตรับผิดชอบมีภาวะโลหิตจาง (Coverage)
4.5 ร้อยละของเด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก
5.2 ร้อยละของเด็กอายุ 6-12 ปี ได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก
7.13 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15 – 49 ปี ที่ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง ในขณะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ และพบภาวะโลหิตจาง (Coverage)
สรุปประเด็นสำคัญ
1. ที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับแก้ไขในรายละเอียดแต่ละตัวชี้วัดทั้ง 8 Template ต่อไป แต่ขอปรับแก้ไข 2 ตัวชี้วัดเร่งด่วน เพื่อใช้ในการตรวจราชการก่อน ได้แก่ 1 ร้อยละของหญิงที่สิ้นสุดการตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ (Coverage) และ 1.2 ร้อยละของหญิงที่สิ้นสุดการตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ ได้รับยาเม็ดที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนขณะตั้งครรภ์ (Coverage)
2. สำนักโภชนาการ ต้องจัดทำรายละเอียดข้อมูลประกอบการจัดทำรายงานในระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center) ตามแบบฟอร์มที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด เท่านั้น
3. ตัวชี้วัดเดิม 1.1 ร้อยละของหญิงที่สิ้นสุดการตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ (Coverage) ดังนี้
3.1 ปรับปรุงรายงานเดิม ให้ซ่อนรายการเดิมไว้ แก้ไขโดยเปลี่ยนชื่อเป็น “ร้อยละของหญิงคลอดที่มีภาวะโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ (Coverage)”
3.2 เพิ่มรายงานใหม่ ชื่อ “ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบมีภาวะโลหิตจาง (Coverage)” โดยเพิ่มตัวชี้วัด Proxy 4 รายการย่อย คือ
- ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบที่ได้รับการตรวจเลือดฝากครรภ์ครั้งแรก (≤12 สัปดาห์) มีภาวะโลหิตจาง
- ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบที่ได้รับการตรวจเลือดฝากครรภ์ครั้งแรก (≤28 สัปดาห์) มีภาวะโลหิตจาง
- ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบที่ได้รับการตรวจเลือดครั้งที่สอง (>28 สัปดาห์) มีภาวะโลหิตจาง
- ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เมื่อมาคลอด และมีภาวะโลหิตจาง
4. ตัวชี้วัดเดิม 1.2 ร้อยละของหญิงที่สิ้นสุดการตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ ได้รับยาเม็ดที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนขณะตั้งครรภ์ (Coverage) ดังนี้
เพิ่มรายงานใหม่ ชื่อ “ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก (Coverage)” โดยซ่อนตัวเก่า 1.2 ไว้ก่อน
5. ก้าวต่อไป สำนักโภชนาการ Template ทาง moph@gmail.com > ทีม HDC ประมวลผล > แจ้งให้หน่วยงานตรวจสอบรายงาน > หากมีการแก้ไข จะดำเนินการแก้ไขจนกว่าจะสมบูรณ์ หรือจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหารือในรายละเอียดเชิงลึก > ทางทีม HDC นำรายงานขึ้นสู่ HDC service