คุณกำลังมองหาอะไร?

รมอนามัย ร่วมเสวนาหัวข้อ ”NCDs Ecosystem การปรับสภาวะแวดล้อมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ” ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 พ.ศ.2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

28.11.2567
64
0
แชร์
28
พฤศจิกายน
2567

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ ผู้แทนกรมอนามัย ร่วมเสวนาหัวข้อ "NCDs Ecosystem การปรับสภาวะแวดล้อมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ" ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 พ.ศ.2567 ณ อิมแพ็คอารีน่า เมืองทองธานี จ.นนทบุรี

หัวข้อเสวนา "NCDs Ecosystem การปรับสภาวะแวดล้อมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ"
ผู้ดำเนินรายการ :  ดร.สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษากรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ สสส.

ประเด็นการเสวนา
1. การพัฒนานโยบายสาธารณะ ว่าด้วยการสานพลังสร้างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ (กรอบทิศทางนโยบายและสาระสำคัญประกอบนโยบาย 5:2:5 Ecosystem) 
2. บทบาทของกรมควบคุมโรคและการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของประเทศไทยร่วมกับภาคีเครือข่าย
3. นโยบายหรือมาตรการของกรมอนามัยที่นำมาใช้เพื่อควบคุมอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
4. การสร้างสภาวะแวดล้อมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อในโรงเรียน
5. บทบาทกลไกทางภาษีเพื่อส่งเสริมสุขภาพสร้างแรงจูงใจ ลดโรคไม่ติดต่อ
6. Physical Activity (PA) บทบาทสถาปัตยกรรมในการออกแบบความร่วมมือเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

รายละเอียดสำคัญประเด็น "นโยบายหรือมาตรการของกรมอนามัยที่นำมาใช้เพื่อควบคุมอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ"
โดย ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ
- กรมอนามัยส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี โดยการสร้างความรอบรู้และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี 
- นโยบายหรือมาตรการที่นำมาใช?เพื่อควบคุมอาหารและเครื่องดื่มที่ส?งผลกระทบต?อสุขภาพอาหารและเครื่องดื่มที่ส?งผลกระทบต?อสุขภาพหลัก ที่ดำเนินการ ได้แก่
1) การพัฒนาและผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก (อาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณไขมัน น้ำตาล โซเดียมสูงเกินเกณฑ์: High in fat sugar and sodium; HFSS) เจตนารมณ์เพื่อปกป้องเด็กจากการถูกกระตุ้นให้ซื้อและบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งมาตรการดังกล่าวสอดคล้องกับข้อเสนอแนะระดับโลกและระดับประเทศ รวมถึงสถานการณ์ประเทศไทยที่เด็กเป็นโรคอ้วนเพิ่มสูงขึ้น ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทย 88% ไม่ผ่านเกณฑ์โภชนาการ (น้ำตาล ไขมัน โซเดียมสูง ตาม WHO Nutrient Profile Model for South-East Asia Region) และการศึกษาไทยพบเด็กพบเห็นการตลาดอาหาร HFSS ทางออนไลน์ 84% และทำใให้เด็กชอบ ซื้อ กิน อาหารเหล่านั้นมากขึ้น โดยเริ่มดำเนินการร่างกฎหมายเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 และร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการประชาพิจารณ์และปรับแก้ไขโดยคณะทำงานเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่าการพิจารณาของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเพื่อพิจารณาเสนอเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย
2) เมนูชูสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเมนูเพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม ในร้านอาหารทั่วประเทศ โดยร้านอาหารสามารถขอรับรองเมนูชูสุขภาพ ผ่านระบบออนไลน์ได้ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนร้านค้าเมนูชูสุขภาพจำนวน 5,500 ร้านทั่วประเทศ กว่า 14,845 เมนู และส่งเสริมให้ 1 อำเภอ 1 เมนูชูสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมอำเภอถึง 93% (815 อำเภอ) และคาดหวังให้ทุกอำเภอมีเมนูชูสุขภาพ
3) นโยบายหวานน้อยสั่งได้ วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงร้านเครื่องดื่มที่เหมาะสมต่อสุขภาพมากขึ้น โดยสามารถสั่งเมนูหวานน้อยได้ ซึ่งปัจจุบันมีแฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ ถึง 27 แบรนด์ 25,000 สาขาทั่วประเทศ และร้านค้าเครื่องดื่มท้องถิ่น (local brand) 2,732 ร้าน เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ซึ่งการสำรวจพบว่า 74.9%คนไทยสั่งหวานน้อย และ 34.1% สั่งหวานน้อยร้อยละ 25
- ความท้ายทายในการดำเนินการของประเทศไทย : ภารพัฒนาและปรับสูตรอาหารลดปริมาณไขมัน น้ำตาล โซเดียม ภายใต้การสานพลังงานของภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน รวมทั้งการร่วมขับเคลื่อนและผลักดันร่างกฎหมาย ควบคู่กับการสร้างความรู้ ความตระหนักด้านโภชนาการ ทั้งเรื่องการบริโภคอาหารตามข้อแนะนำ (FBDG/ธงโภชนาการ) การสร้างความตระหนักในการเลือกอาหาร และรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งการสร้างการเข้าถึงอาหารที่ดี และการสร้างความเข้าใจการกินที่ดีต่อประชาชน จะนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม เกิดความรอบรู้ด้านโภชนาการ และสุขภาพทีดีต่อไป 


ทั้งนี้ สมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย ร่วมออกบูทร่วมปกป้องเด็กไทยจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อสื่อสารสังคมและจัดกิจกรรมร่วมลงชื่อสนับสนุนมาตรการ ผ่าน Change.org 

รับชมการเสวนาเพิ่มเติมได้ที่ https://web.facebook.com/share/v/15Vsaq3jc8/

 

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน