กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
6 ธันวาคม 2567 กรมอนามัย โดยสำนักโภชนาการ จัดประชุมคณะทำงานประสานภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการผลักดันร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการปกป้องเด็กจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ครั้งที่ 1/2568 ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ อาคาร 1 ชั้น 1 กรมอนามัย และผ่านระบบ Web Conference
ประธานการประชุม : ดร.นพ.ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย
รองประธานการประชุม : ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย
เลขานุการ และเลขนานุการร่วม : ร้อยโทหญิง ณิชารัศม์ ปัญจจิตราพัฒน์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย ผู้แทนสำนักพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับชาติ และผู้แทนสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย
ู้ผู้เข้าร่วมประชุม : คณะทำงานประสานภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการผลักดันร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการปกป้องเด็กจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ด้านคุ้มครองผู้บริโภค และด้านการสื่อสาร) รวมทั้งสิ้น 28 หน่วยงาน จำนวนประมาณ 40 คน
วัตถุประสงค์หลัก : เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนการสนับสนุนการผลักดันร่างกฎหมายควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กร่วมกับภาคีเครือข่าย และเพื่อหารือแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์แผนการสนับสนุนการผลักดันร่างกฎหมายฯ
ประเด็นสำคัญของการประชุม
1. แจ้ง คำสั่งกรมอนามัย ที่ 1185/2567 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2567 เรื่อง แต่งตั้ง คณะกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาและผลักดันร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก โดยมีคณะกรรมการและคณะทำงานฯ ทั้งหมดมี 4 คณะ โดย คณะทำงานประสานภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการผลักดันร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการปกป้องเด็กจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นคณะทำงานชุดที่ 4 โดยองค์ประกอบคณะทำงานประกอบด้วยภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ด้านเด็ก เยาวชน ครอบครัว ด้านคุ้มครองผู้บริโภค และด้านการสื่อสาร รวมทั้งสิ้น 31 หน่วยงาน
- มติที่ประชุม: รับทราบ
2. แจ้งผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายสำหรับสนับสนุนการผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรม ทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยผลการดำเนินการ ประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก ได้แก่
1) ได้ทราบถึงการดำเนินการป้องเด็กจากการตลาดอาหารหวานมันเค็มของแต่ละหน่วยงานในปัจจุบัน ซึ่งกิจกรรมที่กำลังมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือ กิจกรรมการสื่อสารต่อเนื่องเฉพาะประเด็นผ่าน Facebook ร่วมปกป้องเด็กไทย จากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (https://www.facebook.com/ProtectChildFromHFSS/) และ กิจกรรมร่วมลงชื่อสนับสนุนมาตรการ โดยสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย ผ่าน change.org (https://chng.it/KfLstMRVTp)
2) (ร่าง) แผนกิจกรรมการสนับสนุนการผลักดันร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการปกป้องเด็กจาก การตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
- มติที่ประชุม: รับทราบ
3. พิจารณา (ร่าง) แผนกิจกรรมการสนับสนุนการผลักดันร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการปกป้องเด็กจาก การตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
โดย ผู้แทนสำนักโภชนาการ กรมอนามัย
- มติที่ประชุม : เห็นชอบต่อร่างกิจกรรมความร่วมมือของแต่ละหน่วยงานจากผลการประชุมวันที่ 17 ต.ค.67 สำหรับแผนระยะ 6 เดือน แต่มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการแยกประเด็นกิจกรรมสนับสนุนทางด้านนโยบายและการสื่อสาร รวมทั้งการดำเนินการจัดทำแผนระยะ 6 เดือน และประชุมติดตามการดำเนินการฯ ร่วมกันอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง และเสนอให้มีการจัดกลุ่มย่อยเพื่อพิจารณาแผนกิจกรรมสนับสนุนร่างกฎหมาย ทั้งนี้ มูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ มีการเสนอกิจกรรมสนับสนุนเพิ่มเติม ซึ่งจะประสานทีมเลขานุการต่อไป
4. พิจารณาข้อเสนอแนะการพัฒนากลยุทธผลักดันเชิงนโยบายต่อพระราชบัญญัติควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก
โดย ผู้แทนองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ประเทศไทย (UNICEF Thailand)
- มติที่ประชุม : เห็นชอบ ต่อข้อเสนอของอค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ประเทศไทย สำหรับการพัฒนากลยุทธผลักดันเชิงนโยบายต่อร่างกฎหมาย โดยทาง UNICEF Thailand สนับสนุนการพัฒนากลยุทธ์ และของรับการสนับสนุนงบประมาณการขับเคลื่อนตามกลยุทธ์ผ่าน International development Law Organization (IDLO) ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคี WHO โดยสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย เป็นหน่วยงานกลางในการขอสนับสนุนงบประมาณ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องสามารถขอรับงบประมาณกลางในการดำเนินกิจกรรมผลักดันร่างกฎหมายร่วมกัน ภายใต้กลยุทธ์การผลักดันร่างกฎหมาย
แผนการดำเนินการต่อไป : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนกิจกรรมการสนับสนุนการผลักดันร่างกฎหมาย และจัดประชุมหารือกลุ่มเล็กในการพัฒนากลยุทธผลักดันเชิงนโยบายต่อร่างกฎหมาย