คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข สำหรับผู้นำชุมชนและแกนนำชุมชน เพื่อขยายผล อสม.ทูตไอโอดีน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

18.12.2567
28
2
แชร์
18
ธันวาคม
2567

ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข สำหรับผู้นำชุมชนและแกนนำชุมชน เพื่อขยายผล อสม.ทูตไอโอดีน
ระหว่างวันที่ 17 – 18 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร และระบบออนไลน์

ประธาน : นายแพทย์ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย

ผู้เข้าร่วมประชุม : ผู้รับผิดชอบงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน จากศูนย์อนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ องค์การปกครองท้องถิ่น รพศ. รพช. รพ.สต. ผู้นำชุมชน   แกนนำชุมชน และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)  จำนวนผู้เข้าประชุม รวมทั้งสิ้น 3,643 คน

 การประชุมประกอบด้วย

  1. การเสวนาความร่วมมือชุมชน: ทางออกของการควบคุมป้องกันขาดสารไอโอดีนอย่างยั่งยืน
    โดย - นางสาวนภัสชญาฐ์ อิทธิประเวศน์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี
          - นายพิทยา ขามาลา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่องตาที อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
          - นางปัณญ์ชรีมาศ ไชยวัฒน์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มงานอนามัยมารดาและทารก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร
          - นางมนต์ทิพา เทพเทียมทัศน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอละแม จังหวัดชุมพร
     ซึ่งดำเนินการอภิปรายโดยร้อยโทหญิงณิชารัศม์ ปัญจจิตราพัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ
  2. การอภิปราย อนาคตไอโอดีน: การวิจัยเชิงปฏิบัติการสู่การเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ
      โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ลีระพันธุ์ นักวิจัยอิสระ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาไอโอดีนในพื้นที่มีปัญหาซับซ้อน 11 จังหวัด         
  3. การบรรยายเรื่อง “หยุดปัญหาสาธารณสุขระดับชาติ คนไทยไม่ขาดไอโอดีน ธาตุเหล็ก และโฟเลต”
    โดย แพทย์หญิงวิสารัตน์ ธีระโกเมน รองผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ
  4. การบรรยายเรื่อง “3 สารอาหารสำคัญ ไอโอดีน ธาตุเหล็ก โฟเลต กับพลังปัญญา: ยกระดับความรอบรู้เพื่อเด็กไทย”
    โดย นางกานต์ณัชชา สร้อยเพชร นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ  กลุ่มส่งเสริมโภชนาการด้านแร่ธาตุและวิตามิน สำนักโภชนาการ

สาระสำคัญ

    1. ข้อสรุปเชิงนโยบาย “หยุดปัญหาสาธารณสุขระดับชาติ คนไทยไม่ขาดไอโอดีน ธาตุเหล็ก และโฟเลต”

     1.1 การส่งเสริมโภชนาการ ให้ความรู้ประชาชน แนวทางการให้คำแนะนำสำหรับบุคลากรทางการแพทย์

  • ระดับประเทศ ธงโภชนากร รณรงค์การสื่อสาร มาตรฐานการให้คำแนะนำด้านโภชนาการในสถานที่เป้าหมายตามกลุ่มวัย ได้แก่ สถานบริการสาธารณสุข คลินิก ANC สถาน  พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สถานประกอบกิจการ
  • ระดับภูมิภาค ระบบติดตาม เฝ้าระวังในพื้นที่ มีโครงการแก้ไขปัญหาในพื้นที่

    1.2 ส่งเสริมการใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนคุณภาพ
    1.3 เพิ่มความครอบคลุมการเข้าถึงบริการคัดกรองภาวะโลหิตจาง ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงวัยเจริญพันธุ์ และเด็กเล็ก ตามชุดสิทธิประโยชน์ และดูแล รักษา ตามแนวทาง
    1.4 เพิ่มความครอบคลุมมาตรการการให้วิตามินเสริมเพื่อป้องกัน ตามชุดสิทธิประโยชน์
    1.5 สำนักโภชนาการ พัฒนาเกณฑ์และระบบเฝ้าระวัง ให้พื้นที่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ดี เพื่อพัฒนางานได้ตามเป้าหมาย ลดอัตรา ภาวะโลหิตจางในหญิง ตั้งครรภ์และเด็กเล็กให้น้อย กว่าร้อยละ 20 ภายในปี 2568

นโยบายเหล่านี้ควรถูกนำไปดำเนินการโดยความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระดับส่วนกลาง ภูมิภาค จังหวัด และพื้นที่ พร้อมทั้งติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถลดปัญหาด้านโภชนาการในระดับชาติได้อย่างยั่งยืน

 

  1. ความร่วมมือชุมชน: ทางออกของการควบคุมป้องกันขาดสารไอโอดีนอย่างยั่งยืน โดยชุมชนต้องมีข้อตกลงร่วมกันวิเคราะห์ สังเคราะห์สถานการณ์ เข้าใจปัญหาและบูรณาการการแก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีนในชุมชน กำหนดเป็นนโยบาย เช่น “ไอโอดีนสำคัญ สร้างคน สร้างชาติ” สร้างสุขภาพของชุมชน สื่อสารสองทางระหว่างภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน เกิดเป็นความร่วมมือทั้ง ด้านทรัพยากรในชุมชน กำลังคน งบประมาณ สิ่งของ และฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน มีการคืนข้อมูลสถานการณ์เฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีนอย่างเป็นระบบ
  2. บันไดก้าวสู่ “ชุมชนหมู่บ้านไอโอดีน” 1) การให้ความรู้แก่ อสม.“พัฒนา อสม. ให้เข้าใจถึงวิธีการใช้ยาเม็ดเสริมไอโอดีน และการเลือกใช้เกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือน” 2) อสม.และแกนนำชุมชน ใช้แพลตฟอร์มไอโอดีนในการประเมินชุมชนหมู่บ้านไอโอดีน สำหรับการติดตามและประเมินผลการเข้าถึงผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน รวมทั้งติดตามการกินยาเม็ดเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ 3) อสม.และแกนนำชุมชน ให้ความรู้ประชาชนในชุมชน ในการเข้าถึงร้านค้าร้านอาหารจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน รวมทั้งสนับสนุนให้ร้านค้าและร้านอาหารในชุมชนมีผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพ และ 4) ประชาชนมีความรอบรู้ การป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน
  3. “ไอโอดีน ธาตุเหล็ก โฟเลต 3 สารอาหารสำคัญ หญิงวัยเจริญพันธ์ุเตรียมพร้อม เพื่อเป็นแม่สุขภาพดี มีลูกคุณภาพ
  4. การแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่ความซับซ้อนในการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามบริบทของพื้นที่  

   

ก้าวต่อไป  สำนักโภชนาการ ร่วมกับพื้นที่เสี่ยง 11 จังหวัด ดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ที่มีค่ามัธยฐานระดับไอโอดีนในปัสสาวะ (MUI) ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในระดับพื้นที่ เพื่อบรรลุเป้าหมายค่า MUI ของหญิงตั้งครรภ์มากกว่า 150 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตรอย่างยั่งยืน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน