สำนักโภชนาการ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาระบบข้อมูลเฝ้าระวังด้านการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจาง
วันที่ 25 ธันวาคม 2567 ณ ห้องประชุมอุทัย พิศลยบุตร อาคาร 4 ชั้น 5 สำนักโภชนาการ กรมอนามัย และผ่านระบบ Web Conference
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนา Template ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบมีภาวะโลหิตจาง (Coverage) และ ร้อยละของหญิงคลอดที่มีภาวะโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ในระบบ Health Data Center
ประธานการประชุม : ร้อยโทหญิงณิชารัศม์ ปัญจจิตราพัฒน์ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านโภชนาการ) รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ
วิทยากร :
- นางสาวจันทิพย์ ภูริทัตกุล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- นางสาวปลื้มกมล ตั้งวัฒนกุลชัย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ นย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- นายนวพล ปิ่นโรมา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้เข้าร่วมประชุม :
- นายแพทย์นุกูล ปุ๋ยสูงเนิน นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
- แพทย์หญิงวิสารัตน์ ธีระโกเมน รองผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ ฝ่ายวิชาการ
- นางสาววารีทิพย์ พึ่งพันธ์ ประธานคณะทำงานระบบเฝ้าระวังโภชนาการ สำนักโภชนาการ และหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมโภชนาการสตรีและเด็กปฐมวัย สำนักโภชนาการ
- นางกานต์ณัชชา สร้อยเพชร รักษาการแทน หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมโภชนาการด้านวิตามินและแร่ธาตุ สำนักโภชนาการ
- นางกุลนันท์ เสนคำ นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ สำนักโภชนาการ
- นายภาสกร สุระผัด นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักโภชนาการ
- นางสาวกุลธิดา รักกลัด นักโภชนาการปฏิบัติการ สำนักโภชนาการ สำนักโภชนาการ
- นางสาววริษา วงศ์วาณิชวัฒนา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
- นางสาวอัญมณีพรรณ สายทอง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ สำนักส่งเสริมสุขภาพ
- นางสาวพิชญา บุญ ละเอียด นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ สำนักส่งเสริมสุขภาพ
- ผู้รับผิดชอบงานควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากศูนย์อนามัยที่ 1-12 และสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง
ทางระบบ Web Conference รวม 40 คน
สรุปประเด็นสำคัญ
1. ชี้แจงความแตกต่างของจุดประสงค์การพัฒนาแก้ไข 2 Templateหลัก ดังนี้
- ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบมีภาวะโลหิตจาง (Coverage) เพื่อใช้ในการกำกับ ติดตาม สถานการณ์ภาวะโลหิตจางของหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ในระดับพื้นที่ได้อย่าง Real time เพื่อนำไปปรับมาตรการต่างๆ เช่น ติดตามการกินยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีน และกรดโฟลิก หรือเพิ่มการให้โภชนศึกษา ก่อนที่หญิงตั้งครรภ์จะคลอด
- ร้อยละของหญิงคลอดที่มีภาวะโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ (Coverage) เพื่อใช้ในการรายงานสถานการณ์ซีดในหญิงตั้งครรภ์ภาพรวมของประเทศ (Prevalence)
2. ทีม HDC Run คำสั่งประมวลผลดูข้อมูล ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบมีภาวะโลหิตจาง (Coverage) ประกอบด้วย Proxy ดังนี้
- ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบที่ได้รับการตรวจเลือดฝากครรภ์ครั้งแรก (≤12 สัปดาห์) มีภาวะโลหิตจาง
- ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบที่ได้รับการตรวจเลือดฝากครรภ์ครั้งแรก (≤28 สัปดาห์) มีภาวะโลหิตจาง
- ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบที่ได้รับการตรวจเลือดครั้งที่สอง (>28 สัปดาห์) มีภาวะโลหิตจาง
- ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ เมื่อมาคลอด และมีภาวะโลหิตจาง
โดยใช้ชุดข้อมูลจาก 43 แฟ้ม ดังนี้
- แฟ้ม PRENATAL (LMP, D_UPDATE)
- แฟ้ม SERVICE (DATE_SERV, HOSPCODE, PID, SEQ)
- แฟ้ม LABOR (BDATE, BHOSP, D_UPDATE)
- แฟ้ม PERSON (TYPEAREA, Discharge)
- แฟ้ม LABFU (LABTEST, LABRESULT, HOSPCODE, PID, SEQ)
3. ก้าวต่อไป
- สำนักโภชนาการปรับ Template ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบมีภาวะโลหิตจาง ตามมติที่ประชุม แล้วส่งให้ทีม HDC Run คำสั่งประมวลผลอีกครั้ง > ทางทีม HDC รันคำสั่งประมวลผล > หากมีการแก้ไข
จะดำเนินการแก้ไขจนกว่าจะสมบูรณ์ > ทางทีม HDC นำ Template ขึ้นสู่ระบบ HDC service ภายในเดือนมกราคม 2568
- ทีม HDC จะดำเนินการส่ง Link ร้อยละของหญิงคลอดที่มีภาวะโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ให้สำนักโภชนาการตรวจสอบรายงาน ภายในเดือนธันวาคม 2567 > หากมีการแก้ไข จะดำเนินการแก้ไขจนกว่าจะสมบูรณ์ > ทางทีม HDC นำ Template ขึ้นสู่ระบบ HDC service ภายในเดือนมกราคม 2568