คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การเข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข การส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรค ในคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ประเด็นเกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนในเด็ก และการป้องกันโรค NCDs

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

11.03.2568
100
0
แชร์
11
มีนาคม
2568

วันอังคารที่ 11 มีนาคม 2568 เวลา 13.00 น. พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย มอบหมาย สำนักโภชนาการ ร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข การส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรค ในคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา เพื่อร่วมให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในโอกาสที่องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ขอเข้าพบหารือในประเด็นเกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนในเด็ก รวมทั้งความร่วมมือด้านการป้องกันโรค NCDs ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA 326 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 

ประธาน : นายวีระพันธ์  สุวรรณนามัย รองประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข คนที่ 1 และประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ

ผู้เข้าร่วมประชุม:  คณะอนุกรรมาธิการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข การส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรค เช่น ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รศ.นพ.เพชร รอดอารีย์ นายกสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย นักวิชาการจากกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค และสำนักโภชนาการ นำโดย พญ.วิสารัตน์ ธีระโกเมน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง

 วัตถุประสงค์ เพื่อร่วมให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในโอกาสที่องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ขอเข้าพบหารือในประเด็นเกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนในเด็ก รวมทั้งความร่วมมือด้านการป้องกันโรค NCDs

ประเด็นสำคัญ

1. สถานการณ์โรคอ้วนในเด็กของประเทศไทย สภาพแวดล้อมด้านอาหาร การจัดการโรคอ้วนของประเทศไทยตาม WHO acceleration plan to stop obesity และกฎหมายควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (Unhealthy) เพื่อปกป้อสุขภาพเด็ก
โดยผู้แทนองค์การองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย
- สถานการณ์โรคอ้วนในเด็กของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น สภาพแวดล้อมด้านอาหารส่งผลต่อพฤติกรรมการของเด็ก และ WHO acceleration plan to stop obesity เสนอให้ดำเนินการมาตรการที่มีหลักฐานยืนยัน มีประสิทธิภาพและคุ้มทุน เช่น Social marketing and communication, School nutrition policies, Obesity management health service delivery, SSB Taxes, Early food environment, Physical activity, Front-of-pack labelling ซึ่งมาตรการที่กล่าวมาประเทศไทยได้มีการดำเนินการแล้ว แต่มีมาตรการ Marketing หรือการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง ที่ประเทศไทยยังไม่มีการควบคุมดังกล่าว โดยมาตรการนี้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของ UNIATF on NCDs และ WHO Guideline 2023 แนะนำประเทศสมาชิกดำเนินนโยบายปกป้องเด็กจากอันตรายของการตลาดอาหาร ด้วยนโยบายภาคบังคับเพื่อปกป้องเด็กทุกกลุ่มวัยจากการตลาดอาหารที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทุกรูปแบบ ซึ่งการตลาดอาหารกลุ่มดังกล่าวส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของเด็กในระยะยาว และทำให้เด็กเกิดโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

2. ผู้แทนกรมอนามัย ร่วมให้ข้อมูลแนวทางการจัดการโรคอ้วนในเด็กในปัจจุบัน
ซึ่งมีการดำเนินการทั้งการส่งเสริมความรอบรู้ด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในเด็ก และปัจจุบันมีการจัดตั้งคณะกรรมการในการป้องกันและควบคุมโรคอ้วนในเด็ก เพื่อสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็กร่วมกัน ร่วมทั้งกำลังขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กร่วมด้วย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่าผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขพิจารณา

3. การขอข้อคิดเห็นต่อการพัฒนากฎหมายควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (Unhealthy) เพื่อปกป้อสุขภาพเด็ก และการจัดการโรคอ้วนในเด็กของประเทศไทย

ข้อเสนอแนะสำคัญจากการประชุม

1. การป้องกันและจัดการโรคอ้วนในเด็กมีความสำคัญ เนื่องจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเริ่มเกิดในช่วงอายุที่น้อยลง ประเทศสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มมากขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
2. การป้องกันโรคอ้วนในเด็ก มีความซับซ้อน และต้องดำเนินการหลายมาตรการให้ครอบคลุมหลายมิติไปพร้อมกัน การเน้นเพียงมาตรการใดมาตรการเดียวไม่ได้ มาตรการที่สำคัญได้แก่ การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่เด็กในรู้แบบการสื่อสารที่นำไปสู่การปรับพฤติกรรม การให้ความรู้ความตระหนักแก่ผู้ปกครองในการดูแลเด็กทั้งเรื่องอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย การไม่ติดหน้าจอ สนับสนุนการสื่อสารในรูปแบบที่ทันสมัยเช่นการใช้ Influencer ที่เด็กชอบดึงดูดให้มาช่วยในการสื่อสาร และรวมถึงมาตราการทางกฎหมาย โดยหลายภาคส่วนที่ต้องมาร่วมกันนอกเหนือจากกระทรวงสาธารณสุขด้วย
3. การควบคุมการโฆษณาอาหารที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก เป็นมาตรการที่ UN และ WHO UNICEF แนะนำว่าเป็นมาตรการสำคัญมีความสำเร็จในหลายประเทศที่ช่วยลดโรคอ้วนในเด็กได้ และมีหลักฐานในต่างประเทศว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุน ทั้งนี้มีความท้าทายหลายประการในการขับเคลื่อนในประเทศไทยเช่น การต่อต้านทางภาคอุตสาหกรรม ช่องว่างด้านการบังคับใช้ของกฎหมายในประเทศไทย จำเป็นจะต้องมีข้อมูลสนับสนุนในประเทศไทยที่ชัดเจนมากขึ้น
4. ประเทศไทยควรมีหน่วยงานหลักในการดูแลกรอบการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับมาตราการทางกฎหมายทั้งหมดในการลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ กฎหมายภาษีน้ำตาล ภาษีเกลือ (ร่าง)พ.ร.บ.โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ร่าง)พ.ร.บ.การควบคุมการตลาดอาหารที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก เพื่อให้การดำเนินงานและประเมินผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิภาพ




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน