คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การเข้าประชุม AMCHAM’s Food and Agribusiness Council Meeting เพื่อสื่อสารนโยบายด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม (21 เมษายน 2568)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

21.04.2568
95
0
แชร์
21
เมษายน
2568

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน 2568 เวลา 14.00 – 15.30 น. พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย มอบหมาย ดร.นพ.ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย เข้าร่วมการประชุม AMCHAM’s Food and Agribusiness Council Meeting เพื่อสื่อสารนโยบายด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุมอุทัย พิศลยบุตร อาคาร 4 ชั้น 5 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และผ่าน Zoom Meeting

ผู้จัดการประชุม : The American Chamber of Commerce in Thailand  (AMCHAM Thailand) นำโดย Ms. Heidi Gallant   Executive Director of AMCHAM Thailand

ผู้เข้าร่วมประชุม: ผู้แทนบริษัทในเครือ AMCHAM Thailand ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนองค์กรอุตสาหกรรมอาหารแห่งเอเชีย (Food Industry Asia :FIA) กรมอนามัย นำโดย ดร.นพ.ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย เจ้าหน้าที่และนักวิชาการจากศูนย์ความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย รวมทั้งสิ้นประมาณ 45 คน

วัตถุประสงค์ : เพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจนโยบายด้านอาหารและโภชนาการต่อสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างความร่วมมือในการสร้างสภาพแวดล้อมด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมกับสุขภาพ

หัวข้อการนำเสนอ
1. Co-Creating for Future: Food and Beverage Policy in Thailand

โดย ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย 
2. Regional Best Practices in Nutrition Policy Developments
โดย Han Yin Leong, Regional Senior Manager, Food Industry Asia (FIA)
3. Thailand's Food & Beverage Policy Landscape: Challenges and Collaborative Solutions
โดย Dr. Pichet Itkor, Secretary of the Federation of Thai Industries (FTI) Food & Beverage Industry Club (also Ajinomoto)
 
สรุปประเด็นสื่อสารนโยบายด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทย

- เป้าหมายด้านโภชนาการสอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ในเป้าหมายที่ 2 Zero Hunger (Sub-target 2.2 End All Forms of Malnutrition) และเป้าหมายที่ 3 Good Health and Well-being (Sub-target 3.4 Reduce NCDs)
- สถานการณ์ภาวะโภชนาการในปัจจุบัน พบว่า เด็กมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนสูงขึ้น 2 เท่าใน 20 ปีที่ผ่านมา โดยสถานการณ์ภาวะผอมและเตี้ยในเด็กดีขึ้นแต่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย ดังนั้น ยังต้องดำเนินการแก้ไขภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้สถานการณ์โรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในผู้ใหญ่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยและของโลก
- นโยบายด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทย : กรมอนามัยมีแผนปฏิบัติการด้านโภชนาการแห่งชาติ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566 – 2570) มีเป้าหมายสูงสุด เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีภาวะโภชนาการดี สามารถดูแลตนเองด้านอาหารและโภชนาการได้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ โดยมีการขับเคลื่อนผ่าน 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่  1) การอภิบาลระบบงานโภชนาการทุกกลุ่มวัย 2) โภชนาการหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตรและเด็กปฐมวัย เพื่อรากฐานโภชนาการที่ดี 3) การส่งเสริมวิถีการบริโภคเพื่อสุขภาวะ (สร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ) 4) การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อโภชนาการที่ดี
- ตัวอย่างเช่น มาตรการและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
   1)การสร้างการเข้าถึงอาหารและเครื่องดื่มที่เหมาะสมกับสุขภาพ เช่น การดำเนินการเมนูชูสุขภาพในร้านอาหาร การดำเนินการหวานน้อยสั่งในร้านเครื่องดื่ม (Cafe) การสร้างความร่วมมือกับ Food Delivery Service เช่น Lineman และการส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเลือกสุขภาพ เพื่อการเข้าถึงผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในร้านสะดวกซื้อ
   2) การลดการตลาดอาหารและเครื่องดื่มหวานมันเค็มในสถานศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2563 และประกาศ สพฐ. พ.ศ.2564 ในการหลีกเลี่ยงการจำหน่ายและจัดหาอาหารหวานมันเค็มในสถานศึกษา รวมทั้งหลีกเลี่ยงการทำการตลาดในสถานศึกษา
   3) การพัฒนามาตรการทางกฎหมายในการปกป้องสุขภาพเด็กจากการตลาดอาหารหวานมันเค็ม ซึ่งเป็นมาตรการ WHO “best buys” Policy ตาม WHO Guideline : Policies to protect children from the harmful impact of food marketing โดยปัจจุบันมีมากกว่า 20 ประเทศทั่วโลกดำเนินการด้วยมาตรการทางกฎหมาย และผลการศึกษาวิจัยพบว่ามาตรการทางกฎหมายมีประสิทธิภาพมากกว่าภาคสมัครใจ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย โดยกรมอนามัยและภาคีเครือข่าย ได้พัฒนา (ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก และผ่านการประชาพิจารณ์ รวมทั้งปรับแก้ไขร่างฉบับหลังประชาพิจารณ์เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาเสนอเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายต่อไป และอยู่ระหว่างการหารือแนวทางการใช้เกณฑ์จำแนกอาหารมาตรฐานโภชนาการ (Nutrient Profiling Model; NPM)สำหรับการคัดกรองอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลต่อสุขภาพเด็กซึ่งจะถูกควบคุมภายใต้ร่างกฎหมายฉบับนี้ โดยแนวทางดังกล่าวจะมีการหารือกับผู้เกี่ยวข้องและภาคอุตสาหกรรมต่อไป

- แนวทางความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมเพื่ออนาคตในการสร้างสภาพแวดล้อมด้านอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพที่ดี :
1) ความร่วมมือในการร่วมลงทุนการสื่อสารผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ผ่านการรับรองผลิตภัณฑ์ทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice) และผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต่อสุขภาพ  
2) ความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเลือกสุขภาพ ลดหวานมันเค็ม ตามเกณฑ์จำแนกอาหารมาตรฐานโภชนาการ (Nutrient Profiling Model; NPM) ของการรับรองสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ หรือเกณฑ์ NPM ของกรมอนามัย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน