22 กรกฎาคม 2568 พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย มอบหมาย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็น เรื่อง การพัฒนามาตรการทางภาษีเพื่อลดการบริโภคโซเดียม ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ณ กรมสรรพสามิต
ประธานการประชุม : นายชุมพล สุวรรณกิจบริหาร ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี กรมสรรพสามิตเลขานุการจัดโครงการสัมมนาฯ : สำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต
ผู้เข้าร่วมประชุม : ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่ม ภาควิชาการ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย WHO Thailand IHPP ภาครัฐ เช่น สสส. กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กองอาหาร อย. และกรมอนามัย โดยสำนักโภชนาการ นำโดย ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ และนักวิชาการ คือ นายภาสกร สุระผัด นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ (นักกำหนดอาหารวิชาชีพ)
วัตถุประสงค์หลัก : เพื่อหารือรับฟังข้อคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญในการพัฒนามาตรการทางภาษีเพื่อลดการบริโภคโซเดียมผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อนำมาช่วยออกแบบมาตรการทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ประเด็นสำคัญของการประชุม
การนำเสนอข้อมูลวิชาการสำหรับการพัฒนามาตรการทางภาษีเพื่อลดการบริโภคโซเดียม
ประเด็น 1 ประสบการณ์และบทเรียนการขับเคลื่อนนโยบายภาษีโซเดียมในต่างประเทศ นำเสนอโดย ดร.สุชีรา บันลือสินธุ์ เจ้าหน้าที่วิชาการด้านโรคไม่ติดต่อ WHO Thailand
- ปัจจุบันหลายประเทศกำลังดำเนินการลดปริมาณโซเดียมในอาหารสำเร็จรูป ซึ่งพบว่าภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับสูตรได้ เช่น Argentina, The United Kingdome, South Africa - การศึกษาพบว่า ผู้บริโภคไม่สามารถสังเกตได้หากปริมาณโซเดียมลดลงประมาณ 20-30%
ประเด็น 2 การศึกษาวิจัย ลดโซเดียม ลดความดันโลหิตสูง นำเสนอโดย ผศ.ดร.พจนา หันจางสิทธิ์ สถานบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผลการศึกษาพบว่า หากภาคอุตสาหกรรมปรับลดโซเดียมตามเกณฑ์สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice Logo) เพียงในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โซเดียม ≤ 2000 มก./100 ก. และขนมขบเคี้ยว โซเดียม ≤ 500 มก./100 กรัม คาดการณ์จะสามารถช่วยลดจำนวนผู้ที่มีความดันโลหิตสูงได้ประมาณ 85,000 คน
การพัฒนามาตรการทางภาษีเพื่อลดการบริโภคโซเดียมผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ( Design Thinking) โดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งกระบวนการประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) EMPATHIZE 2) DEFINE 3) IDEATE 4) PROTOTYPE 5) TEST มีประเด็นการรับฟังข้อคิดเห็นสำหรับการพัฒนามาตรการทางภาษีฯ และข้อคิดเห็นจากที่ประชุม ดังนี้
- ประโยชน์ของมาตรการภาษีเพื่อลดการบริโภคโซเดียม มีข้อคิดเห็นจากที่ประชุม เช่น การเกิดนวัตกรรมอาหารใหม่ ประชาชนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ ลดเสี่ยงโรค NCD ลดค่าใช้จ่าย NCD ของภาครัฐ
- ข้อคำนึงของการจัดเก็บภาษีโซเดียม มีข้อคิดเห็นจากที่ประชุม เช่น กลุ่มอาหารที่จัดเก็บภาษี อัตราภาษี ราคาสินค้า รสชาติอาหาร ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม การรับรู้ของประชน - แนวทางการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสม มีข้อคิดเห็นจากที่ประชุม เช่น ควรเลือกกลุ่มอาหารฟุ่มเฟือยจัดเก็บภาษีก่อน จัดเก็บภาษีแบบขั้นบันได มีระยะเวลาในการปรับตัว และควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้ข้อคิดเห็น - การขอข้อคิดเห็นในการสร้างต้นแบบ (Prototype) ในการจัดเก็บภาษี ทั้งประเด็นกลุ่มอาหารที่เก็บภาษี (การเริ่มเก็บจากกลุ่มขนมขบเคี้ยว) เกณฑ์ที่ใช้ประเมินปริมาณโซเดียม (เกณฑ์มาตรฐานโภชนาการ WHO- SEARO หรือเกณฑ์สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ) แหล่งข้อมูลปริมาณโซเดียม (จากการวิเคราะห์ หรือฉลากโภชนาการ หรือฉลาก GDA) ร้อยละการจัดเก็บภาษี (ต่ำกว่า5%, 5-10%, 10-15%) วิธีการจัดเก็บ (ตามมูลค่า ปริมาณ หรือแบบผสม) แนวทางการดำเนินการต่อไป: สำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต นำข้อเสนอจากการสัมมนาเพื่อพัฒนามาตรการทางภาษีเพื่อลดการบริโภคโซเดียมที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยต่อไป และสำนักโภชนาการ เร่งสื่อสารประเด็นโซเดียม การบริโภคที่เหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ โดย เมนูชูสุขภาพ และเมนูทางเลือก