คุณกำลังมองหาอะไร?

5

5 เครื่องดื่ม “ชา” ที่ช่วยลดเสี่ยงโรคเรื้อรังอันตราย

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

30.11.2564
235
0
แชร์
30
พฤศจิกายน
2564

เรียบเรียงโดย

นางสาวลักษณิน รุ่งตระกูล นักโภชนาการชำนาญการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย โทร.0 2590 4794

วันที่ตรวจสอบ 29 พฤศจิกายน 2564

ข้อสรุป : ดื่มชา 5 ชนิด ได้แก่ ชาเขียว ชาคาโมมายล์ ชาขิง  ชาเปปเปอร์มินต์ และชาฮิบิสคัสหรือชาดอกชบา ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง

ลักษณะข่าว : ข่าวอาจจะจริง

url website : https://www.sanook.com/health/29281/

ข้อเท็จจริง : ชามีสารคาเฟอีนร้อยละ 2-4 ขึ้นกับชนิดของชา สารที่สำคัญในชา คือ Polyphenols ได้แก่ Flavonoids Epigallocatechin Gallate (EGCG) และ Catechins ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการดูดซึมไขมัน ลดการสะสมไขมันในร่างกาย ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเบาหวาน และลดการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด แต่ส่วนใหญ่จะพบการศึกษาในชาเขียว

ผลกระทบ : ไม่ควรดื่มชาพร้อมหรือหลังอาหารมื้อหลักทันที เพราะจะทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารได้น้อยลง และการได้รับคาเฟอีนจากชาก่อนนอนอาจทำให้นอนไม่หลับได้

ข้อแนะนำ : ควรดื่มชาแบบไม่ใส่น้ำตาลในมื้ออาหารว่าง หรือหลังจากอาหารมื้อหลักอย่างน้อย 2 ชั่วโมง และงดดื่มชาก่อนเข้านอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

เอกสารอ้างอิง

  1. Ryuichiro Sakata, et al. Green Tea With High-Density Catechins Improves Liver Function and Fat Infiltration in Non-Alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD). Int J Mol Med 2013; 32(5):989-94.
  2. Subhra Karmakar, Dolan Das, Anasuya Maiti, Sangita Majumdar, et al. Black Tea Prevents High Fat Diet-Induced Non-Alcoholic Steatohepatitis. Phytother Res 2011; 25(7):1073-81.
  3. Erdong Yuan, Xuefei Duan, Limin Xiang, et al. Aged Oolong Tea Reduces High-Fat Diet-Induced Fat Accumulation and Dyslipidemia by Regulating the AMPK/ACC Signaling Pathway. Nutrients 2018; 10(2):187.
  4. Mansour-Ghanaei F, et al. Green tea as a safe alternative approach for nonalcoholic fatty liver treatment: A systematic review and meta-analysis of clinical trials. Phytother Res. 2018; 32(10):1876-1884.
  5. ยุพยง บรรจบพุดซา, จรัสพล รินทระ และคณะ. การศึกษาประสิทธิภาพของชาใบหม่อนต่อระดับไขมันในเลือด ในผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง. สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. สืบค้นวันที่ 29 พฤศจิกายน https://antiaging.mfu.ac.th/File_PDF/Research_PDF55/Proceeding_7.pdf

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน