เรียบเรียงโดย
นางสาวลักษณิน รุ่งตระกูล นักโภชนาการชำนาญการ
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย โทร.0 2590 4794
วันที่ตรวจสอบ 29 พฤศจิกายน 2564
ข้อสรุป : อาหาร 9 ชนิด ได้แก่ ผักปวยเล้ง เมล็ดฟักทอง ถั่วเปลือกแข็ง เห็ด ไข่ ปลาแซลมอน ดาร์กช็อกโกแลต กล้วย และนมไขมันต่ำ กินแล้วช่วยให้อารมณ์ดี
ลักษณะข่าว : ข่าวค่อนข้างจริง
url website : https://www.sanook.com/women/176681/
ข้อเท็จจริง : สารอาหารที่ส่งผลต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยลดความตึงเครียด ได้แก่ กลุ่มวิตามินบี วิตามินซีแมกนีเซียม กรดไขมันโอเมก้า-3 และกรดอะมิโนทริปโตเฟน ซึ่งพบในอาหารจำพวกผัก-ผลไม้ ธัญพืช อาหารทะเล
ไข่และนม
ผลกระทบ : ไม่ควรกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำๆ เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน
ข้อแนะนำ : ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ปริมาณเพียงพอ หมุนเวียนหลากหลายชนิด เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนและสมดุล
เอกสารอ้างอิง :
- Young LM, et al. A Systematic Review and Meta-Analysis of B Vitamin Supplementation on Depressive Symptoms, Anxiety, and Stress: Effects on Healthy and 'At-Risk' Individuals. Nutrients. 2019 Sep 16; 11(9):2232.
- Phelan D, Molero P, Martínez-González MA, Molendijk M. Magnesium and mood disorders: systematic review and meta-analysis. BJPsych Open. 2018 Jul; 4(4):167-179.
- McCabe D, Lisy K, et al. The impact of essential fatty acid, B vitamins, vitamin C, magnesium and zinc supplementation on stress levels in women: a systematic review. JBI Database System Rev Implement Rep. 2017 Feb; 15(2):402-453.
- Tsujita N,et al. Effect of Tryptophan, Vitamin B(6), and Nicotinamide-Containing Supplement Loading between Meals on Mood and Autonomic Nervous System Activity in Young Adults with Subclinical Depression. Nutr Sci Vitaminol (Tokyo). 2019; 65(6):507-514.
- Agostoni C, et al. The Role of Omega-3 Fatty Acids in Developmental Psychopathology:
A Systematic Review on Early Psychosis, Autism, and ADHD. Int J Mol Sci. 2017 Dec 4; 18(12):2608.