กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
เรียบเรียงโดย
นางสาววรรณชนก บุญชู นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการ
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย เบอร์ 02 590 4336
วันที่ตรวจสอบ 30 พฤศจิกายน 2564
ข้อสรุป : บทความนำเสนอผลการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยนางาซากิและบริษัทยา Neopharma Japan พบว่า 5-อะมิโนลีวูลินิก แอซิด (5-Aminolevulinic acid) หรือ 5-ALA ซึ่งเป็นกรดอะมิโนธรรมชาติชนิดหนึ่งมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเซลล์เพาะเลี้ยงได้
ลักษณะข่าว : ข่าวจริง
url website : https://www.sanook.com/health/28681/
ข้อเท็จจริง: 5-อะมิโนลีวูลินิก แอซิด (5-Aminolevulinic acid) หรือ 5-ALA เป็นกรดอะมิโนธรรมชาติที่ร่างกายคนและสัตว์รวมถึงพืชสร้างขึ้นมาเองได้ในคน โดย 5-ALA จะสร้าง protoporphyrin IX (PPIX) ซึ่งสารตั้งต้นของฮีม (Heme) ในร่างกายโดยจับกับธาตุเหล็ก และจับกับโปรตีนโกลบิน จนเกิดเป็นฮีโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญในเซลล์เม็ดเลือดแดง ในการศึกษาของมหาวิทยาลัยนางาซากิและบริษัทยา Neopharma Japan ทดสอบระดับความเข้มข้นของ 5-ALA กับการยับยั้งการติดเชื้อ SAR-CoV-2 พบว่า 5-ALA มีคุณสมบัติยับยั้งการติดเชื้อ SAR-CoV-2 ได้ ทั้งนี้ 5-ALA พบได้ในอาหาร นัตโตะ ผักป้วยเล้ง น้ำส้มสายชูหมักดำ ไวน์แดง
ผลกระทบ: มีการผลิต 5-ALA ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออกมาสู่ท้องตลาด ทำให้หลายคนสนใจซื้อมารับประทานเพราะเชื่อใจคุณสมบัติยับยั้งการติดเชื้อโควิด อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ของญี่ปุ่นได้รับรองให้ 5-ALA เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไม่ได้เป็นยา
ข้อแนะนำ: ไม่จำเป็นต้องรับประทาน 5-ALA ในรูปผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เพราะ 5-ALA สามารถพบได้ในอาหารที่หาได้ง่ายในบ้านเรา เช่น กล้วย ปลาหมึก พริกหยวก ป้วยเล้ง เป็นต้น ทั้งนี้ควรรับประทานให้หลากหลายเพื่อให้ได้รับสารอาหารที่มีคุณสมบัติเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันด้วย เช่น วิตามิน แร่ธาตุ สารพฤกษเคมีต่างๆ
เอกสารอ้างอิง :
รู้จัก5-ALA สารอาหารที่คนญี่ปุ่นเชื่อว่าป้อ.pdf |
ขนาดไฟล์ 291KB
ดาวน์โหลด 4 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |