คุณกำลังมองหาอะไร?

ผั

ผักจิ๋ว” ที่คนญี่ปุ่นแนะนำให้กิน เพื่อร่างกายที่แข็งแรง

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

30.11.2564
73
2
แชร์
30
พฤศจิกายน
2564

เรียบเรียงโดย

นางสาววรรณชนก บุญชู นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 02 590 4336

วันที่ตรวจสอบ 30 พฤศจิกายน 2564

 

ข้อสรุป : ผักจิ๋วที่ถูกกล่าวถึงใน ได้แก่ มะเขือเทศราชินี ต้นอ้อนหัวไชเท้า กะหล่ำดาว ซึ่งผักเหล่านี้มีวิตามิน แร่ธาตุอันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ การกินผักชนิดใดก็ตามหากกินในปริมาณที่เหมาะสมและกินให้หลากหลายจะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี

ลักษณะข่าว : ข่าวค่อนข้างจริง

url website  : https://www.sanook.com/health/28049/

ข้อเท็จจริง: ผักจิ๋วสามชนิดที่กล่าวถึง ได้แก่ มะเขือเทศราชินี ต้นอ้อนหัวไชเท้า กะหล่ำดาว มีคุณสมบัติสำคัญทางโภชนาการ และออกฤทธิ์ทางชีวภาพในกระบวนการอื่นๆของร่างกาย

  • มะเขือเทศทุกประเทศมีสารอาหารที่สำคัญมากมาย และมะเขือเทศราชินีก็มีไม่ต่างกัน แต่สิ่งที่โดดเด่นกว่าคือ มะเขือเทศราชินีมีไลโคปีนสูงกว่ามะเขือเทศผลใหญ่ทั่วไป ไลโคปีนในมะเขือเทศราชินี 8-11 มก/100กรัม โดยที่ผลใหญ่ทั่วไปมีไลโคปีนประมาณ 5 มก/100 กรัม ทั้งนี้หากต้มมะเขือเทศทั่วไปหรือปั่นไม่แยกกากก็จะได้ปริมาณไลโคปีนสูงกว่ากินมะเขือเทศราชินีแบบสดๆ
  • ต้นอ่อนหัวไชเท้า มีวิตามินเค ซี และ โฟเลตสูงก็จริงแต่ไม่ได้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าหัวไชเท้า เพียงแต่คุณค่าของสารอาหารไปอยู่ในใบของหัวไชเท้า แต่เรานิยมกินหัว ทำให้ไม่ได้รับสารอาหารเท่ากับการกินต้นอ่อนของมัน
  • กะหล่ำดาว มีปริมาณวิตามินซีที่สูงกว่ากะหล่ำปลีธรรมดาจริง โดยกะหล่ำปลีดาวให้วิตามินซี 160 มก/100 กรัม ในขณะที่กะหล่ำปลีธรรมดาให้วิตามินซี 41 มก/100กรัม

ผลกระทบ: คนญี่ปุ่นไม่ได้แนะนำการกินเพียงผักจิ๋ว แต่แนะนำการกินให้หลากหลายได้สมดุลในปริมาณเพียงพอ

ข้อแนะนำ: ผักชนิดต่างๆ มีคุณค่าทางโภชนาการและคุณประโยชน์ด้านอื่นๆที่แตกต่างกัน จึงควรกินเป็นประจำให้หลากหลายชนิดเพื่อให้ประโยชน์ครบถ้วน และปรุงประกอบให้เหมาะสมกับคุณค่าสารอาหาร เช่น หากต้มมะเขือเทศทั่วไปหรือปั่นไม่แยกกากก็จะได้ปริมาณไลโคปีนสูงกว่ากินมะเขือเทศราชินีแบบสดๆ และกะหล่ำปลีจะให้คุณประโยชน์สูงขึ้นเมื่อผ่านความร้อน เช่นการต้มหรือผัด

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

ผักจิ๋ว ที่คนญี่ปุ่นแนะนำให้กิน เพื่อร่าง.pdf
ขนาดไฟล์ 122KB
ดาวน์โหลด 5 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน