คุณกำลังมองหาอะไร?

วิจ

วิจัยพบ น้ำตาลเทียม อาจก่อโรคระบบย่อยอาหาร ในระยะยาว

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

30.12.2564
7665
1
แชร์
30
ธันวาคม
2564

เรื่อง : วิจัยพบ น้ำตาลเทียม อาจก่อโรคระบบย่อยอาหาร ในระยะยาว

 

เรียบเรียงโดย

นายภาสกร  สุระผัด
นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 02 5904703

วันที่ตรวจสอบ2 ธ.ค.2564

ข้อสรุป : วิจัยอิสราเอลพบ น้ำตาลเทียม สารให้ความหวาน อาจก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับ ระบบย่อยอาหาร           ในระยะยาว ผลการศึกษาในวารสารอินเตอร์เนชันนัล เจอร์นัล ออฟ โมเลคูลาร์ ไซเอนส์ (International Journal of Molecular Sciences) ระบุว่าคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ได้ทดสอบสารให้ความหวาน            6 ชนิด ซึ่งได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) และพบว่าสารเหล่านี้แทรกแซงการสื่อสารของแบคทีเรียในร่างกาย แม้ว่าสารทั้งหกตัวจะไม่ได้ฆ่าแบคทีเรีย แต่มีสาร 3 ตัว ได้แก่ แอสปาร์แตม
ซูคราโลส และแซกคาริน ที่ส่งผลกระทบใหญ่ต่อการสื่อสารของแบคทีเรีย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาหรือโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยคณะนักวิจัยอธิบายว่าสารให้ความหวานทำลายกิจวัตรการสื่อสารของแบคทีเรีย ซึ่งอาจนำไปสู่การทำลายเสถียรภาพของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้

ลักษณะข่าว ข่าวจริง

url website  : https://www.amarintv.com/news/detail/101888

ข้อเท็จจริง: การวิจัยพบแอสปาร์แตม (aspartame) ซูคราโลส (sucralose) และแซกคาริน (saccharin) ขัดขวางการสื่อสารและรบกวนสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ ทำให้เกิดปัญหาระบบย่อยอาหาร1 สารดังกล่าว               ยังทำให้เชื้อแบคทีเรียที่เดิมอยู่ในลำไส้แบบไม่ก่อให้เกิดโรค กลับกลายเป็นเชื้อโรคเกาะผนังลำไส้และทำลายเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ ทำให้ลำไส้เสียหายเกิดระบบย่อยที่ผิดปกติ2  เมื่อบริโภคต่อเนื่องอาจเกิดโรคระบบย่อยอาหารในระยะยาวได้

 

ผลกระทบ:  สารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะไม่ให้พลังงานหรือให้น้อยมาก และค่อนข้างปลอดภัย แต่ควรใช้ด้วยความระวัง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้เป็นเบาหวาน ผู้เป็นไมเกรน ผู้ป่วยโรคลมชักและเด็ก

 

ข้อแนะนำ: แม้น้ำตาลเทียมจะไม่ให้พลังงาน แต่ร่างกายยังติดรสหวานอยู่ จึงควรรลดการบริโภครสหวาน สั่งเครื่องดื่มหวานน้อยหรือไม่ใส่น้ำตาล อ่านฉลากโภชนาการเลือกชนิดที่ไม่เติมน้ำตาลและไม่ใช้สารให้ความ
หวานแทนน้ำตาล 


เอกสารอ้างอิง

Markus V., et al. Inhibitory Effects of Artificial Sweeteners on Bacterial Quorum Sensing. Int. J. Mol. Sci. 2021, 22, 9863. https://doi.org/10.3390/ijms22189863

Shil A. and Chichger H. Artificial Sweeteners Negatively Regulate Pathogenic Characteristics of Two Model Gut Bacteria, E. coli and E. faecalis. Int. J. Mol. Sci. 2021, 22, 5228. https://doi.org/10.3390/ijms22105228

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน