คุณกำลังมองหาอะไร?

กิ

กินเค็ม ไม่ได้เสี่ยงแค่โรคไต แต่ยังเสี่ยง “โรคหัวใจและหลอดเลือด”

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

30.12.2564
67
0
แชร์
30
ธันวาคม
2564

เรื่อง : กินเค็ม ไม่ได้เสี่ยงแค่โรคไต แต่ยังเสี่ยง “โรคหัวใจและหลอดเลือด”

 

เรียบเรียงโดย

นางสาวทิพรดี คงสุวรรณ นักโภชนาการปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 02 590 4334

วันที่ตรวจสอบ 1 ธันวาคม 2564

 

ข้อสรุป : การได้รับโซเดียมในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับ  ความดันโลหิต เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด ไต เบาหวาน และ     อัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ลักษณะข่าว : ข่าวจริง

url website  : https://www.sanook.com/health/27837/

ข้อเท็จจริง: ร่างกายได้รับโซเดียมจากอาหาร เครื่องปรุงรส เช่น น้ำปลา กะปิ เกลือ ซอสปรุงรส                    ซุปก้อน น้ำจิ้ม เป็นต้น นอกจากนี้โซเดียมยังแฝงในอาหารอื่นที่ไม่มีรสชาติเค็ม เช่น ผงชูรส  ผงฟู เป็นต้น หรืออาหารแปรรูปต่างๆ ผลเสียจากการกินเค็มหรือโซเดียมสูง ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจออกแรงบีบตัวมากขึ้นเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ การกินเค็มนอกจากส่งผลเสียต่อไต ยังส่งผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดยด้วย

ผลกระทบ: การกินเค็มมีผลทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่างๆ ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น ทำให้ไตทำงานมากขึ้น และทำให้เกิดผลเสียอื่นๆต่อร่างกายด้วย เช่น ทำให้ผนังของหัวใจหนาตัวขึ้น

ข้อแนะนำ: ไม่ควรบริโภคเกลือเกิน 1 ช้อนชาต่อวัน( 5 กรัม) คิดเป็นโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม ลดการบริโภคเกลือลงเหลือ 3 กรัมต่อวัน จะช่วยลดความดันโลหิตและป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดียิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. รศ. พญ. วีรนุช รอบสันติสุข พญ. สิริสวัสดิ์ วันทอง. ลดเค็็มพิชิตภัยเงียบ. [อินเทอร์เน็ต].สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย;2558[เข้าถึงเมื่อ 19 เม.ษ. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihypertension.org/files/237_1.LowSalt.pdf.
  2. ผศ. ดร.พญ.อติพร อิงค์สาธิต พญ.กชรัตน์ วิภาสธวัช ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ. บทบาทของอาหารเค็มต่อการเกิดโรคไต. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. RAMA CHANNEL;2560.[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2564].

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article

  1. Malta D,Petersen KS,Johnson C,Trieu K,Rae S,Jefferson K,et al.High sodium intake increases blood pressure and risk of kidney disease.From the Science of Salt: A regularly updated systematic review of salt and health outcomes (August 2016 to March 2017).

J Clin Hypertens (Greenwich) 2018;12:1654-1665.

4. Jaques DA,Wuerzner G,Ponte B.Review Sodium Intake as a Cardiovascular Risk Factor: A Narrative Review. Nutrients 2021;13:3177.

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน