คุณกำลังมองหาอะไร?

พทย์ยืนยัน งด ”อาหารเช้า” แย่ๆ ส่งผลดีต่อสุขภาพ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.01.2565
158
0
แชร์
06
มกราคม
2565

เรื่อง : แพทย์ยืนยัน งด "อาหารเช้า" แย่ๆ ส่งผลดีต่อสุขภาพ

 

เรียบเรียงโดย 

ชื่อ นางสาววิภาศรี  สุวรรณผล
ตำแหน่ง นักโภชนาการปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 025904335

วันที่ตรวจสอบ 1 ธันวาคม 2564

 

ข้อสรุป :  จากข่าวมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการงดอาหารเช้าแย่ๆ 14 วัน ซึ่งอาหารเช้าแย่ๆ ที่ว่านี้ คือ อาหารเช้าที่มีคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้งและน้ำตาลจำนวนมาก ซึ่งอาหารเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ         
จึงแนะนำให้งดอาหารกลุ่มนี้ ซึ่งมีข้อดีคือ น้ำหนักลดลง ไม่หิวบ่อย สมองตื่นตัว สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันสูง ไขมันสูง อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า “ห้ามกินอาหารเช้า” แต่หมายถึงให้งดกินมื้อเช้าที่มีแต่แป้งและน้ำตาลจะดีกว่า

ลักษณะข่าว : ข่าวค่อนข้างจริง 

url website : https://www.sanook.com/health/30433/

ข้อเท็จจริง: การงดอาหารเช้าทำให้สมรรถนะร่างกายและสมองลดลง เกิดความไม่สมดุลฮอร์โมน ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียกล้ามเนื้อเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานแทน เลี่ยงอาหารเช้าที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เลือกกินอาหารเช้าที่มีสารอาหารหลากหลาย ครบ 5 หมู่ เน้นธัญพืชไม่ขัดสีมีใยอาหารสูง ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด อิ่มนาน และโปรตีนไม่ติดมัน เพิ่มผักผลไม้ ช่วยให้เริ่มวันอย่างมีประสิทธิภาพและมีแรงตลอดวัน

ผลกระทบ : ขณะหลับร่างกายใช้พลังงานที่สะสมไว้ ช่วงเช้าน้ำตาลในเลือดจึงต่ำ เมื่อน้ำตาลไปเลี้ยงสมองน้อยลงจึงขาดความกระปรี้กระเปร่า เฉื่อยชา การอดอาหารเช้าส่งผลกับร่างกาย โดยเฉพาะเด็กจะขาดประสิทธิภาพในการเรียน 

ข้อแนะนำ : ควรกินอาหารเช้าที่มีประโยชน์ มีสารอาหารหลากหลายในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละกลุ่มวัย

เอกสารอ้างอิง : 

  1. ประไพศรี ศิริจักรวาล. เด็กกับอาหารเช้า. 2553. ใน วิชุดา  ศรีนิ่มนวล. ความรู้ การบริโภคอาหารเช้าและภาวะสุขภาพของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://cmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/48624/3/FULL.pdf
  2. สิรินทร ฉันศิริกาญจน. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล.อดอาหารเช้าระวังอัลไซเมอร์ ดูแลสมองก่อนสาย. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก  https://med.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/07162015-1024-th
  3. Rekha Rani, Chetan N. Dharaiya and Bhopal Singh. Importance of not skipping breakfast :       a review.2021. International Journal of Food Science and Technology. 56, 28–38. [เข้าถึงเมื่อ 

1 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://ifst.onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.1111/ijfs. 14742

  1. Lisa Hill// (2021).//Breakfast: Is It the Most Important Meal? // Retrieved December 5 2021/from/ https://www.webmd.com/food-recipes/breakfast-lose-weight

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน