คุณกำลังมองหาอะไร?

รมอนามัยเผย ตะขบ ช่วยดูดซับคอเลสเตอรอลลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.01.2565
30
0
แชร์
06
มกราคม
2565

 

เรื่อง : กรมอนามัยเผย ตะขบ ช่วยดูดซับคอเลสเตอรอลลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้

 

เรียบเรียงโดย 

นายวรภัสม์ แป้นจันทร์
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 0-2968-7619

วันที่ตรวจสอบ 4 ธันวาคม 2564

 

ข้อสรุป : การศึกษาวิจัย เรื่อง “ปริมาณใยอาหาร น้ำตาล และแร่ธาตุในผลไม้” ของกลุ่มวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ กองโภชนาการ กรมอนามัย ทำการศึกษาผลไม้ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 30 ตัวอย่างพบว่าผลไม้ เป็นแหล่งของน้ำตาล ใยอาหารและแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะผลตะขบที่เป็นผลไม้พื้นบ้านนั้นมีใยอาหาร โพแทสเซียมและแคลเซียมในเกณฑ์สูง ผลไม้จึงเป็นแหล่งอาหารที่ใช้แนะนำในการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังบางชนิดได้ 

ลักษณะข่าว : ข่าวจริง

url website : https://www.facebook.com/groups/1571809823095317/permalink/2936523283290624/

ข้อเท็จจริง: การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกองโภชนาการ ปี 2552 พบ พบตะขบให้พลังงานมากกว่าผลไม้อื่น (97 กิโลแคลอรีต่อ 100 กรัม) และพบใยอาหาร (6.3 กรัมต่อ100 กรัม) กับโพแทสเซียมในเกณฑ์สูง (773 มิลลิกรัมต่อ100 กรัม) ตะขบจึงเป็นผลไม้ที่อาจนำมาใช้แนะนำเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เพราะช่วยระบบขับถ่ายเป็นปกติ กำจัดของเสียออกจากร่างกาย ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตกได้

 ผลกระทบ: หากรับประทานผลตะขบในปริมาณที่มาก อาจได้รับปริมาณโพแทสเซียมที่สูง อาจก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะได้

ข้อแนะนำ: เพื่อสุขภาพที่ดีแนะนำกินผลไม้หลังมื้ออาหารเป็นครั้งคราว 3-5 ส่วน/วัน (ตะขบ 1 ส่วน ประมาณ  8-10 ผล) เลือกกินผลไม้ตามฤดูกาล หลากหลายชนิด และควรล้างให้สะอาดก่อนกินเพื่อลดความเสี่ยง

ของสารเคมีตกค้างทุกครั้ง

เอกสารอ้างอิง :  

  1. Pereira GA, Arruda HS, de Morais DR, Eberlin MN, Pastore GM. Carbohydrates, volatile and phenolic compounds composition, and antioxidant activity of calabura (Muntingia calabura L.) fruit. Food Research International. 2018;108:264-273.
    DOI : doi.org/10.1016/j.foodres.2018.03.046.
  2. Akshay KCP, Bharathi DR, Nataraj GR. Antiobesity effect of ethanolic extract of muntingia calabura leaves on high fat diet-induced obesty in rats. World journal of pharmaceutical research. 2021;10:1782-1792. : ISSN 22777105
  3. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, คุณค่าทางโภชนาการในผลไม้. 1. นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ; 2553. ISBN : 978-616-11-0365-1.

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน