คุณกำลังมองหาอะไร?

น้ำ” สำคัญต่อชีวิตแต่ น้ำธรรมดาหรือน้ำแร่ จะดีกว่ากัน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.01.2565
5821
0
แชร์
06
มกราคม
2565

 

เรื่อง : “น้ำ” สำคัญต่อชีวิตแต่ น้ำธรรมดาหรือน้ำแร่ จะดีกว่ากัน

 

เรียบเรียงโดย 

 นายวรภัสม์ แป้นจันทร์
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 0-2968-7619

วันที่ตรวจสอบ 1 ธันวาคม 2564.

 

ข้อสรุป : เลือดมี ‘ค่าความเป็นกรดต่าง’ ที่ 7.4 และถ้าหากมีค่าต่ำกว่านั้นจะเกิดภาวะกรดเป็นพิษในเลือดแต่เมื่อร่างกายเราเผาผลาญ อาหารที่เรากินเข้าไปร่างกายจะปล่อย ‘กรดและก๊าซ’ ออกมา ดังนั้น ‘การดื่มน้ำแร่’ ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างจะช่วยให้เลือด มี ‘ค่าความเป็นกรดต่าง’ ที่สมดุลได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ใช่คนที่ดื่มน้ำอัดลมมากเกินไปเพราะน้ำอัดลมมีความเป็นกรดสูง หรือไม่ทำกิจกรรมที่ทำให้เกิด กรดในร่างกายสูงเราก็อาจไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำแร่มาก การดื่มน้ำสะอาดและดื่มให้พอดีในแต่ละวันก็ให้แร่ธาตุกับ ร่างกายได้ส่วนหนึ่งแล้ว เพราะอีกส่วนหนึ่งจะได้มาจากอาหารเช่นกัน 

ลักษณะข่าว : ข่าวอาจจะจริง

url website  : https://www.komchadluek.net/blogs/kom-lifestyle/482142

ข้อเท็จจริง : น้ำแร่คือน้ำจากแหล่งธรรมชาติพบแร่ธาตุหลัก ได้แก่ แคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียมโพแทสเซียม กำมะถัน แต่ละแหล่งผลิตพบแร่ธาตุต่างกันส่งผลให้รสชาติและประโยชน์ต่างกัน น้ำดื่มทั่วไปก็มีแร่ธาตุอยู่แต่น้อยกว่าน้ำแร่และมีค่า pH เป็นกลางที่ 7 แต่น้ำแร่มี pH เป็นด่าง (>7) การดื่มน้ำแร่อย่างเดียวไม่ทำให้ pH ของเลือดเปลี่ยนแปลงเพราะร่างกายมีกลไกรักษาสมดุล pH ในเลือดผ่านระบบขับถ่าย ระบบหายใจและระบบบัฟเฟอร์ในเลือด 

ผลกระทบ : การดื่มน้ำแร่โดยไม่ศึกษาข้อมูลของน้ำแร่ อาจส่งผลกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวให้อาการรุนแรงขึ้นได้ เนื่องจากน้ำแร่มีหลายชนิด เช่น ชนิดไบคาร์บอเนต ชนิดซัลเฟต ชนิดคลอไรด์ เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อร่างกายต่างกัน

ข้อแนะนำ : กินอาหารให้ครบ 5 หมู่เน้นผักผลไม้ซึ่งเป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อวัน จะได้แร่ธาตุจากน้ำและอาหารเพียงพอ ผู้ชอบดื่มน้ำแร่ไม่ควรดื่มมากหรือบ่อยเกินไปเพราะอาจแพ้แร่ธาตุในน้ำแร่ได้
เอกสารอ้างอิง : 

  1. Quattrini S, Pampaloni B,Brandi ML. Natural mineral waters : chemical characteristics and health effects. Clin Cases Miner Bone Metab. 2016;13(3):173–180. DOI 10.11138/ccmbm/2016.13.3.173 
  2. Wasserfurth P, Schneider I, Ströhle , Nebl J, Bitterlich N, Hahn  A. Effects of mineral waters on acid–base status in healthy adults : results of a randomized trial. Food Nutr Res. 2019;63. DOI 10.29219/fnr.v63.3515 

3. เภสัชกรหญิง ดารวี ศิริพรหม. มารู้จักน้ำแร่กันเถอะ !! [อินเทอร์เน็ต]. ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. 2553. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จากhttps://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/20/มารู้จักน้ำแร่กันเถอะ/

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน