คุณกำลังมองหาอะไร?

โซ

โซดา มีส่วนประกอบของน้ำตาลทรายขาว น้ำเชื่อมฟรักโทส ทำให้ประสาทตึงเครียด

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.01.2565
15
0
แชร์
06
มกราคม
2565

โซดา มีส่วนประกอบของน้ำตาลทรายขาว น้ำเชื่อมฟรักโทส ทำให้ประสาทตึงเครียด

เรียบเรียงโดย 

นางสาวภาพิมล  บุญอิ้ง 

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย โทร. 0 2590 4327

วันที่ตรวจสอบ 5 ธันวาคม 2564

ข้อสรุป : ข้อความจากเพจเฟซบุ๊กของอาจารย์เจษฎ์กล่าวถึง "น้ำโซดา" ขวดๆ ที่ขายในประเทศไทย คือน้ำเปล่าอัดผสมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลงไป จะทำให้เกิดฟองซ่าขึ้น แต่ที่กล่าวว่าโซดามีส่วนประกอบของน้ำตาลทรายขาว น้ำเชื่อมฟรักโทส นั้นน่าจะสับสนกับบางประเทศ ใช้คำว่า "โซดา" แทนเครื่องดื่มน้ำอัดลมต่างๆ จึงมีการใส่น้ำตาลลงไป

ลักษณะข่าว : ข่าวอาจจะจริง

url website : https://www.facebook.com/OhISeebyAjarnJess/photos/a.281457299003997/1224081958074855/

ข้อเท็จจริง : โซดา (Carbonate water) ประกอบด้วยน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อาจแต่งกลิ่น/รสหรือไม่ก็ได้ มักนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของน้ำอัดลมหรือผสมเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ แต่โซดาในต่างประเทศนั้นหมายถึงน้ำอัดลมทุกประเภท ซึ่งจะมีน้ำตาลทรายขาว น้ำเชื่อมฟรักโทสจากข้าวโพด (Fructose Corn Syrup) น้ำตาลไม่ทำให้เครียดโดยตรง แต่คอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนเครียดจากต่อมหมวกไต หากมีมากจะทำให้อยากอาหารพวกแป้งหรือน้ำตาลเพิ่มขึ้น 

ผลกระทบ : ข่าวโซดามีส่วนประกอบของน้ำตาลทรายขาว น้ำเชื่อมฟรักโทส อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดสับสนกับโซดาที่จำหน่ายในไทยว่ามีน้ำตาลทรายขาว น้ำเชื่อมฟรักโทสจากข้าวโพด (Fructose Corn Syrup)เป็นส่วนประกอบ

ข้อแนะนำ : ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน/โรคระบบทางเดินอาหารควรเลี่ยงดื่มโซดา  ใน1วัน ไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา การกินหวานเพื่อลดความเครียดไม่ใช่วิธีที่ดี ควรออกกำลังกายจะช่วยลดคอร์ติซอลได้ดีที่สุด 

เอกสารอ้างอิง :  

1.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สำนักงานคณะกรรมการอาการและยา.(22 ตุลาคม 2563).ดื่มโซดา
ช่วยย่อยอาหารได้จริงหรือไม่[online]. แหล่งข้อมูล https://sure.oryor.com/index.php/detail/media_specify/830
สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2564

  1. Angela Jacques, Nicholas Chaaya, Kate Beecher, Syed Aoun Ali, Arnauld Belmer, Selena Bartlett,

The impact of sugar consumption on stress driven, emotional and addictive behaviors,Neuroscience & Biobehavioral Reviews, Volume 103, 2019, Pages 178-199,ISSN 0149-7634,

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน