คุณกำลังมองหาอะไร?

หมือนอายุ 40 อีกครั้ง ชายชราอายุ 90 กินสิ่งนี้ หัวใจแข็งแรง ช่วยลดไขมันในเลือด – ความดันโลหิตสูง”

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

25.01.2565
2326
7
แชร์
25
มกราคม
2565

เรื่อง “เหมือนอายุ 40 อีกครั้ง ชายชราอายุ 90 กินสิ่งนี้ หัวใจแข็งแรง
ช่วยลดไขมันในเลือด – ความดันโลหิตสูง”

 

เรียบเรียงโดย

นางสาววรินดา ดาอ่ำ  นักโภชนาการ

สำนักโภชนาการ  กรมอนามัย  เบอร์โทร 0 2590 4335

วันที่ตรวจสอบ 28 ธันวาคม 2564

 

ข้อสรุป : ชายวัย 90 ปีรับประทานขิงสดหมักกับน้ำส้มสายชู โดยรับประทานพร้อมมื้ออาหารวันละ 3 ชิ้น
แนะนำให้รับประทานขิงพร้อมอาหารมื้อเช้า จะช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ช่วยลดไขมันในเลือด และความดันโลหิตสูง

 

ลักษณะข่าว : ข่าวค่อนข้างจริง

 

URL website: https://www.youtube.com/watch?v=KkX4nZZz9Gg

 

ข้อเท็จจริง : ขิงเป็นพืชมีรสเผ็ด เหง้านำมาประกอบอาหารและสกัดเป็นยาหรืออาหารเสริม ขิงมีสาร gingerols และ shogaols การกินขิงผสมในน้ำส้มสายชูช่วยส่งผลกับระบบrenin-angiotensin-aldosterone ซึ่งเป็นระบบฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิตและระบบการไหลเวียนของเลือด ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่าขิงส่งผลกับการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ จึงควรมีการศึกษาต่อไป

 

ผลกระทบ : คนเป็นนิ่วให้ระวังการกินขิง เพราะจะบีบนิ่วออกจากถุงน้ำดีทำให้ปวดท้อง ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยที่กินยาลดอาการแข็งตัวของหลอดเลือดอยู่กินขิง เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะมีเลือดออกหรือลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

 

ข้อแนะนำ : ขิงใช้ปรุงอาหารทั่วไปได้ปลอดภัย การควบคุมความดันโลหิตโดยกินขิงยังคลุมเครือ เพื่อลดความเสี่ยงความดันโลหิตสูง/โรคหัวใจ ควรเลี่ยงอาหารไขมันสูง เน้นผัก ผลไม้ ถั่วเปลือกแข็ง เน้นกินปลา สัตว์ปีก แทนเนื้อแดง

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง :

  1. คณะกรรมการจัดทําตําราอ?างอิงยาสมุนไพรไทย ในคณะกรรมการคุ?มครองและส?งเสริมภูมิป?ญญา
    การแพทย?แผนไทย. ตําราอ?างอิงยาสมุนไพรไทย เล?ม 2 เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
    สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 60 พรรษา. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร?พริ้นติ้งแอนด?พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน), 2558. หน?า 21-24.
  2. จุลสารกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. ว่าด้วย เรื่องสมุนไพรรสชาติเผ็ดร้อน..ต้องนึกถึงขิง. (ปีที่ 1 ฉบับที่ 2), พฤษภาคม
  3. สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. น้ำส้มสายชูหมักกับประโยชน์ต่อสุขภาพ. (ปีที่ 49 ฉบับที่ 3) กรกฎาคม – กันยายน

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน