เรื่อง : "ดื่มกาแฟ" อย่างไรให้ปลอดภัย และยังช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดี
เรียบเรียงโดย
นางสาวณัฐนิช อินทร์ขำ
นักโภชนาการปฏิบัติการ
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย เบอร์ 0 2590 4327
วันที่ตรวจสอบ 19 มกราคม 2565
ข้อสรุป : การศึกษาวิจัยพบว่าพบว่าการดื่มกาแฟช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง การเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ การดื่มกาแฟช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคตับเรื้อรังและเสียชีวิตจากโรคนี้น้อยลง เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟ การดื่มกาแฟก็ทำร้ายสุขภาพได้หากดื่มและรับคาเฟอีนมากเกินไป เพราะส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น กระตุ้นอาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ และ ผู้หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสแท้งได้จากการได้รับคาเฟอีนมากเกินไป กาแฟจะส่งผลดีต่อสุขภาพถ้าดื่มในปริมาณที่เหมาะสม
ลักษณะข่าว : ข่าวค่อนข้างจริง
ข้อเท็จจริง: คาเฟอีนในกาแฟช่วยให้ตื่นตัว สดชื่นลดความง่วงเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า ใน 1 วัน ผู้ใหญ่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนได้ไม่เกินวันละ 300 – 400 มิลลิกรัม เท่ากับกาแฟปกติ 3-4 แก้วหรือกาแฟ 2 กระป๋องหญิงตั้งครรภ์จำกัดการบริโภคคาเฟอีนไว้ที่ 200 มิลลิกรัมต่อวันหรือกาแฟประมาณ 2 แก้ว
ผลกระทบ: การดื่มกาแฟมากเกินไปอาจก่อให้เกิดอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ใจสั่น อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ เพิ่มความดันโลหิตให้กับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และผลข้างเคียงอื่น ๆ
ข้อแนะนำ: คาเฟอีนที่ได้จากอาหารไม่ควรเกิน 300 – 400 มิลลิกรัมต่อวันเท่ากับกาแฟปกติ 3-4 แก้ว หรือกาแฟ 2 กระป๋อง นอกจากจะดูปริมาณคาเฟอีนให้เหมาะสมแล้วควรเลือกเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลและไขมันในปริมาณพอเหมาะ
เอกสารอ้างอิง :
1.Klatsky, Arthur L. (2006). "Coffee, Cirrhosis, and Transaminase Enzymes". Archives of Internal
Medicine. 166 (11): 1190–1195. doi:10.1001/archinte.166.11.1190. PMID 16772246.
-
Karolinska Institutet. (2009) "Midlife Coffee And Tea Drinking May Protect Against Late-life
Dementia." ScienceDaily. ScienceDaily,