คุณกำลังมองหาอะไร?

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” กินดิบ-ต้มสุก อันตรายต่างกันอย่างไรบ้าง

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

19.04.2565
47
0
แชร์
19
เมษายน
2565

เรื่อง : “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” กินดิบ-ต้มสุก อันตรายต่างกันอย่างไรบ้าง

 

เรียบเรียงโดย

นางสาวปัทมาภรณ์ อักษรชู
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 02 590 4334

วันที่ตรวจสอบ 24 มกราคม 2565

ข้อสรุป : บทความนำเสนอการกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดิบจะได้รับพลังงานประมาณ 200 กิโลแคลอรี และได้รับโซเดียมในปริมาณสูง หากกินคู่กับน้ำอัดลมจะยิ่งทำลายสุขภาพมากขึ้นและเสี่ยงท้องอืดมากกว่าปกติ การกินบะหมี่แบบต้มเส้นให้สุกถ้าไม่ได้กินน้ำซุปจนหมด จะช่วยให้ได้รับโซเดียมน้อยกว่ากินดิบ

ลักษณะข่าว : ข่าวค่อนข้างจริง

url website: https://www.sanook.com/health/30581/

ข้อเท็จจริง: บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีแป้งร้อยละ 60 หรือข้าวประมาณ 3 ทัพพี ไขมันร้อยละ 20 รวมทั้งมีผงปรุงรสซึ่งมีโซเดียมสูง  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 440-470 กิโลแคลอรี ไขมัน 19-20 กรัม โซเดียม 1,400-2,600 มก. ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน (2,000 มก.) ดังนั้นการกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นประจำไม่ว่าจะกินดิบหรือต้มสุก จะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมเกินซึ่งเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง

ผลกระทบ: การกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอย่างเดียวทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน บทความทางวิทยาศาสตร์รายงานว่า การกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปประจำเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคเมตาบอลิก

ข้อแนะนำ: บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่ควรกินดิบและบ่อยควรต้มให้สุกอาจเพิ่มเนื้อสัตว์ ไข่ และผักเพื่อได้สารอาหารครบถ้วน เลี่ยงเติมผงปรุงรสหมดซองและกินน้ำซุปหมดถ้วย เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ “ทางเลือกเพื่อสุขภาพ”

เอกสารอ้างอิง

  1. Rama channel. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โทษร้ายกว่าที่คิด!. (ออนไลน์ เผยแพร่วันที่ 26 ก.พ. 2562) เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/ondemand.

  2. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload.

  3. Thai Food Composition Tables 2015 (ออนไลน์) เข้าถึงได้จากhttps://inmumahidol.ac.th/thaifcd/home.php

  4. Huh IS, Kim H, Jo HK, et al. Instant noodle consumption is associated with cardiometabolic risk factors among college students. Nutr Res Pract. 2017;11(3):232-239. doi:10.4162/nrp.2017.11.3.232

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน