คุณกำลังมองหาอะไร?

รู้

รู้หรือไม่!! เพิ่มธาตุเหล็กในผู้สูงอายุด้วย 8 สุดยอดอาหาร

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.01.2565
292
0
แชร์
24
มกราคม
2565

เรื่อง : รู้หรือไม่!! เพิ่มธาตุเหล็กในผู้สูงอายุด้วย 8 สุดยอดอาหาร

 

เรียบเรียงโดย

นางแคทธิยา โฆษร

นักโภชนาการปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 02 590 4329

วันที่ตรวจสอบ 24 มกราคม 2565

 

ข้อสรุป : 8 สุดยอดอาหาร เพิ่มธาตุเหล็กในผู้สูงอายุ ได้แก่ 1. แอปเปิ้ลและอินทผลัม 2. มะเขือเทศมีวิตามินซีช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้นและไลโคปีนมีช่วยต่อสู้กับโรคต่างๆ 3. น้ำผึ้ง 100 กรัม มีธาตุเหล็ก 0.42 กรัม และมีแมกนีเซียมทองแดงช่วยเพิ่มฮีโมโกลบินในเลือด 4. ไข่เป็นแหล่งโปรตีนอุดมด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ ไข่ขนาดใหญ่หนึ่งฟองมีธาตุเหล็ก 1 มก. 5. ผักโขมอุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี วิตามินบี9 ใยอาหาร เบต้าแคโรทีนและธาตุเหล็ก ผักโขม 1 ถ้วยมีธาตุเหล็ก 3.2 มก. (ร้อยละ 20 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน) 6. อาหารทะเล เช่น หอย หอยเชลล์ หอยแมลงภู่ หอยนางรม หอยฮเว็ลค ปลาหมึก และหอยนางรม ปลาบางชนิดมีธาตุเหล็กสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรลและปลาแอนโชวี่ 7. เห็ดเป็นแหล่งธาตุเหล็กที่ดี เห็ดบางชนิดมีธาตุเหล็กมากถึง 8 มก. และอุดมไปด้วยไรโบฟลาวิน            ไนอะซิน ธาตุเหล็ก เบต้ากลูแคน (เบต้ากลูแคน) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันตื่นตัว 8. ถั่ว เป็นแหล่งของธาตุเหล็กที่ดี

ลักษณะข่าว : ข่าวค่อนข้างจริง

url website: https://dillingerscocktailsandkitchen.com/รู้หรือไม่-เพิ่มธาตุเห/

ข้อเท็จจริง: ภาวะโลหิตจางนอกจากขาดธาตุเหล็กอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วย ภาวะโลหิตจางหรือภาวะซีดมีสาเหตุสำคัญ คือ การขาดธาตุเหล็ก รองมาคือ กรดโฟลิก วิตามินบี 12 และโปรตีน แหล่งอาหารธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อสัตว์ นม ไข่แดง ตับ และในพืชได้แก่ ธัญชาติ ถั่วเมล็ดแห้ง ผักใบเขียวเข้มบางชนิด เช่น ผักโขม  สารอาหารที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก ได้แก่ วิตามินซี กรดผลไม้ต่างๆ

 

ผลกระทบ: ผู้ที่เสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก เช่น หญิงตั้งครรภ์/หญิงให้นมบุตร เด็กที่กำลังโต ผู้สูงอายุและผู้กินอาหารมังสวิรัติ อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ อ่อนเพลีย ลิ้นเลี่ยน แผลที่มุมปาก เล็บผิดรูปและการรับรสผิดปกติ

 

ข้อแนะนำ: ผู้สูงอายุควรได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ จากการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ เช่น ปลา นม โยเกิร์ต ไข่ ตับ เพื่อลดความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุนและภาวะซีด

เอกสารอ้างอิง

  1. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563: กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี. โปรเกรสซีฟ.

  2. วันทนีย์ สินยศ และคณะ. องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย. คณะอนุกรรมการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับผู้บริโภค. ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน