คุณกำลังมองหาอะไร?

6

6 อาหารที่ไม่ควรกิน (มากเกินไป) ในมื้อเย็น-ก่อนนอน เสี่ยงนอนไม่หลับ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

26.01.2565
51
0
แชร์
26
มกราคม
2565

เรื่อง : 6 อาหารที่ไม่ควรกิน (มากเกินไป) ในมื้อเย็น-ก่อนนอน เสี่ยงนอนไม่หลับ

 

เรียบเรียงโดย

ชื่อ นางสาวอารียา  กูโน
ตำแหน่ง นักโภชนาการปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 0 2590 4327

วันที่ตรวจสอบ 26 มกราคม 2565

 

ข้อสรุป: 6 อาหารที่ไม่ควรกิน (มากเกินไป) ในมื้อเย็น-ก่อนนอน เสี่ยงนอนไม่หลับ ได้แก่ 1.ช็อกโกแลต          2.พริก 3.น้ำผลไม้ 4. ชีสบางประเภท 5.กระเทียม หอมใหญ่ 6. สุรา เพื่อให้นอนหลับสบายควรเลี่ยงอาหารที่ทำให้นอนไม่หลับ เช่น อาหารที่มีคาเฟอีนและอาหารที่กล่าวข้างต้น หยุดทุกกิจกรรมก่อนนอนราว 1-2 ชั่วโมง

การดื่มนมอุ่นๆ แช่น้ำอุ่นให้ร่างกายผ่อนคลาย ฟังเพลงคลอเบาๆ หรือนั่งสมาธิก่อนนอน และงดการเล่นมือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพราะแสงสีฟ้าจากหน้าจอทำให้สมองตื่นตัวได้ หากมีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรังจนกระทบกับสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป ไม่ควรซื้อยานอนหลับรับประทานเองโดยเด็ดขาด

ลักษณะข่าว : ข่าวอาจจะจริง

 

url website: https://www.sanook.com/health/30105/

 

ข้อเท็จจริง: การนอนไม่หลับมีหลายปัจจัย เช่น ทางกาย จิตใจ สภาพแวดล้อม คาเฟอีนในอาหารจากช็อคโกแลต ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง อาหารน้ำตาลสูง เช่น น้ำผลไม้ต่างๆ อาหารไขมันสูง การดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารรสเผ็ดทำให้อาหารไม่ย่อยเกิดกรดไหลย้อน การกินอาหารมากและระยะห่างของการกินและเข้านอนสั้น ส่งผลกับคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีและทำให้ระยะเวลาการนอนหลับสั้นลง หากมีปัญหานอนไม่หลับหรือหลับยากเป็นประจำจะส่งผลเสียกับสุขภาพได้

 

ผลกระทบ: การนอนไม่หลับมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มีอาการง่วงนอนตอนกลางวัน         สมาธิลดลง ความจำลดลง ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

 

ข้อแนะนำ: อาหารมื้อเย็นควรกินก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง กินปริมาณเพียงพอและหลากหลาย เลี่ยงกลุ่มคาเฟอีน อาหาหวานจัด มันจัด เค็มจัด ดื่มน้ำสะอาด ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ

 

เอกสารอ้างอิง

  1. St-Onge MP, Mikic A, Pietrolungo CE. Effects of Diet on Sleep Quality. Adv Nutr. 2016;7(5):938-949. Published 2016 Sep doi:10.3945/an.116.012336

  2. Nisar M, Mohammad RM, Arshad A, Hashmi I, Yousuf SM, Baig S. Influence of Dietary Intake on Sleeping Patterns of Medical Students. Cureus. 2019;11(2):e Published 2019 Feb 20. doi:10.7759/cureus.4106

  3. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. นอนไม่หลับเกิดจากอะไร. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 27 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://www.siphhospital.com/th/news/article/share/insomnia

  4. สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย 2559. [อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 27 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.slideshare.net/benzwongumpornpinit/ss-78517680

 

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน