คุณกำลังมองหาอะไร?

สุ

สุขภาพดีสร้างได้ อาหารเสริมและวิตามิน คืออะไร

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

19.01.2565
123
0
แชร์
19
มกราคม
2565

สุขภาพดีสร้างได้ อาหารเสริมและวิตามิน คืออะไร?

เรียบเรียงโดย

ชื่อ นางสาวกุลธิดา รักกลัด
ตำแหน่ง นักโภชนาการปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 02-590-4336

วันที่ตรวจสอบ 19 มกราคม 2565

 

ข้อสรุปจากข่าว : อาหารเสริม คือผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานโดยตรง นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลัก ตามปกติมักจะอยู่ในลักษณะเป็นเม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลว หรือลักษณะอื่น มีจุดมุ่งหมายสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ โดยแบ่งตามคุณสมบัติ และประสิทธิภาพเด่นๆ ได้แก่ 1.อาหารบำรุงสุขภาพ (รังนก โสม หูฉลาม ซุปไก่สกัด) 2.อาหารป้องกันและรักษาโรค (น้ำมันปลา นมผึ้ง สาหร่ายคลอเรลล่า) 3.อาหารลดน้ำหนัก สำหรับผู้เป็นโรคอ้วน (บุก เมล็ดแมงลัก) 4.อาหารเสริมนักกีฬา (เครื่องดื่มเกลือแร่) วิตามิน คือสารอินทรีย์ที่จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบอวัยวะต่างๆในร่างกายทำงานผิดปกติ วิตามินบางตัวสังเคราะห์ขึ้นได้เพียงพอในร่างกาย บางตัวก็สังเคราะห์ไม่ได้ หรือสังเคราะห์ได้แต่ไม่พอจำเป็นต้องได้รับจากอาหาร รวมถึงช่วงเวลาและการกินอาหารเสริมหรือวิตามิน ร่วมกับอาหารประเภทต่างๆ ก็อาจมีผลต่อการดูดซึมสารอาหารที่แตกต่างกัน

 

ลักษณะข่าว : ข่าวอาจจะจริง

url website : https://www.facebook.com/healthbynoon/posts/956864154789179

ข้อเท็จจริง: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจัดเป็นอาหารตามพรบ.อาหาร พ.ศ.2522 จึงไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค ผู้บริโภคที่มีสุขภาพปกติ (มิใช่ผู้ป่วย) ใช้กินได้โดยตรง นอกเหนือจากอาหารหลักตามปกติ โดยคาดหวังด้านส่งเสริมสุขภาพ เช่น วิตามินซีเม็ด การกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร่วมกับอาหารประเภทต่างๆ เช่น กินวิตามินที่ละลายในไขมันร่วมกับมื้ออาหารที่มีไขมันจะดูดซึมได้มากขึ้น สำหรับเวลาที่เหมาะสมในการกินนั้นยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติม

ผลกระทบ : คำว่าอาหารเสริมกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจก่อความสับสนได้ อาหารเสริม คือ อาหารธรรมชาติที่กินเสริมจากมื้ออาหารหลัก 3 มื้อ เพื่อดูแลสุขภาพในภาวะต่างๆ เช่น การดื่มนมเพิ่มขึ้น 1-2 แก้ว สำหรับหญิงตั้งครรภ์

ข้อแนะนำ : ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกินได้แต่ไม่ใช่เพื่อรักษาโรค ผู้มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยารักษาโรค จึงควรกินอาหารธรรมชาติให้ครบหมู่หลากหลายในปริมาณเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. หลักเกณฑ์และแนวทางการอนุญาต

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ม.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก:  https://www.fda.moph.go.th/sites/food/manual/Manual_5.1.pdf

 

 

 

  1. ผศ. พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล. หมอรามาฯ แนะ อาหารเสริม กินมากๆ ตกค้างในร่างกายได้. 2559 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ม.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/หมอรามาฯ-แนะ-อาหารเสริม/ 

  1. ยูนิลีเวอร์ ไลฟ์. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร VS อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ม.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.unileverlife.com/editorial/food-supplements-vs-dietary-supplements-product/

  2. Dawson-Hughes, B., Harris, S. S., Lichtenstein, A. H., Dolnikowski, G., Palermo, N. J., & Rasmussen, H. (2015). Dietary Fat Increases Vitamin D-3 Absorption. Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics, 115(2), 225–230. doi:10.1016/j.jand.2014.09.014

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน