คุณกำลังมองหาอะไร?

กิ

กินมังสวิรัติ เสี่ยงต่อการกระดูกหักง่าย มากกว่าคนกินเนื้อสัตว์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

31.01.2565
388
0
แชร์
31
มกราคม
2565

เรื่อง : กินมังสวิรัติ เสี่ยงต่อการกระดูกหักง่าย มากกว่าคนกินเนื้อสัตว์

เรียบเรียงโดย

นางสาววราภรณ์  จิตอารี

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย โทร.0 2590 4327

วันที่ตรวจสอบ 31 มกราคม 2565

ข้อสรุป : เตือน กินมังสวิรัติ เสี่ยงต่อการกระดูกหักง่าย มากกว่าคนกินเนื้อสัตว์ทั่วไป ร้อยละ 43  และจากผลการศึกษาในวารสาร BMC Medicine พบว่าผู้ที่กินมังสวิรัติมีความหนาแน่นของกระดูกน้อยกว่า โดยเฉพาะผู้ที่งดผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทั้งหมด ทำให้ได้รับแคลเซียมและโปรตีนต่ำ จึงมีความเสี่ยงต่อโครงสร้างกระดูกหรือการเกิดอุบัติเหตุ

ลักษณะข่าว : ข่าวค่อนข้างจริง

url website : https://www.facebook.com/EventPassfanpage/posts/4886195121455011

ข้อเท็จจริง : ผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติแบบเคร่ง โดยไม่กินผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงขาดวิตามินและสารอาหาร อาทิ โปรตีน หากไม่รับโปรตีนจากสัตว์ก็ควรได้รับโปรตีนจากพืชหลากหลาย เช่น ข้าว งา ถั่วต่างๆ วิตามินบี12 ธาตุเหล็ก ส่งผลให้โลหิตจาง วิตามินดี คนที่ไม่กินนมและไข่มีโอกาสขาดวิตามินดีและแคลเซียม หากขาดวิตามินดีร่วมกับได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอจึงเสี่ยงภาวะกระดูกเปราะ หักง่ายได้

ผลกระทบ : การกินมังสวิรัติหากเน้นข้าว-แป้ง ของหวาน อาจได้รับพลังงานมากไปและเกิดพฤติกรรมติดแป้ง ติดหวานได้ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ไม่ควรกินมังสวิรัติแบบเคร่งครัดมาก เพราะอาจเส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ข้อแนะนำ : ผู้กินมังสวิรัติควรกินให้ครบหมู่และหลากหลาย กินอาหารทดแทนสารอาหารที่ขาดไป กินให้สมดุล เลี่ยงหวาน มัน เค็ม ใช้น้ำมันแต่น้อย หากจำเป็นอาจต้องรับวิตามินเสริมเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับ               ประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี.โปรเกรสซีฟ, 2563.

Tong TY, Key TJ, Sobiecki JG, Bradbury KE. Anthropometric and physiologic characteristics in white and British Indian vegetarians and nonvegetarians in the UK Biobank. Am J Clin Nutr. 2018;107:909–20. https://doi.org/10.1093/ajcn/nqy042.

Iguacel I, Miguel-Berges ML, Gómez-Bruton A, Moreno LA, Julián C. Veganism, vegetarianism, bone mineral density, and fracture risk: a systematic review and meta-analysis. Nutr Rev. 2019 Jan 1;77(1):1-18. doi: 10.1093/nutrit/nuy045. PMID: 30376075.

Tong, T. Y., Appleby, P. N., Armstrong, M. E., Fensom, G. K., Knuppel, A., Papier, K., ... & Key, T. J. (2020). Vegetarian and vegan diets and risks of total and site-specific fractures: results from the prospective EPIC-Oxford study. BMC medicine, 18(1), 1-15.

Sharon Palmer, RDN.  February 2016. Protecting Bone Health Among Vegans. (online). Today's Dietitian Vol. 18 No. 2 P. 24. Cited on 2022 Feb 1. From https://www.todaysdietitian.com/newarchives/0216p24.shtml

 

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน