คุณกำลังมองหาอะไร?

สั

สับปะรดคั้นผสมขิง เป็นยาช่วยย่อย

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

01.02.2565
177
0
แชร์
01
กุมภาพันธ์
2565

 

 

เรื่อง : น้ำสับปะรดคั้นผสมขิง เป็นยาช่วยย่อย

เรียบเรียงโดย

นางสาวลักษณิน รุ่งตระกูล

นักโภชนาการชำนาญการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย โทร.0 2590 4794

วันที่ตรวจสอบ 1 กุมภาพันธ์ 2565

ข้อสรุป : ดื่มน้ำคั้นสับปะรดผสมขิงหลังมื้ออาหาร มีฤทธิ์เป็นยาช่วยย่อย

ลักษณะข่าว : ข่าวค่อนข้างจริง

url website : https://www.facebook.com/dr.sup.herb/posts/1533156960213967?_rdc=2&_rdr

ข้อเท็จจริง : สับปะรดมีกากใยสูง และมีเอนไซม์ Bromelain ช่วยเสริมการย่อยอาหาร จึงเหมาะสำหรับ
กินหลังอาหาร ส่วนในขิงสดมีสาร Gingerols และ Shogaols มีฤทธิ์ช่วยขับลม ช่วยเสริมระบบย่อยอาหาร
แต่สารเหล่านี้จะออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อนำขิงมาประกอบอาหารโดยผ่านความร้อน

ผลกระทบ : สับปะรดมีน้ำตาลค่อนข้างสูง โดย 100 กรัม มีน้ำตาลเฉลี่ย 12.9 กรัม ผู้ที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลจึงไม่ควรกินมากเกินไป และการกินสับปะรดขณะท้องว่างอาจระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้

ข้อแนะนำ : ใน 1 วัน ควรกินผลไม้ประมาณ 4 ส่วน (สับปะรด 6 ชิ้นพอดีคำ = 1 ส่วน) โดยควรกินผลไม้ให้หลากหลายสี สำหรับขิงสดเป็นสมุนไพรช่วยขับลมสามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่น ปลานึ่งขิง โจ๊กหมูใส่ขิง ตับผัดขิง

เอกสารอ้างอิง

  1. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1 : สำนักงานกิจการโงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. กันยายน 2561. 143 หน้า.

  2. Ruchi Badoni Semwal, Deepak KumarSemwal, SandraCombrinck and Alvaro M.Viljoen. Gingerols and shogaols: Important nutraceutical principles from ginger. Phytochemistry Volume 117, September 2015, Pages 554-568.

  3. กฤติยา ไชยนอก. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สับปะรด : ผลไม้รักษาโรค. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. สืบค้นวันที่ 31 มกราคม 2565.

https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/429

 

 

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน