คุณกำลังมองหาอะไร?

ริงหรือไม่? กิน “น้ำตาล” มากเกินไป เสี่ยง “แก่เร็ว”

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.02.2565
247
0
แชร์
06
กุมภาพันธ์
2565

จริงหรือไม่? กิน “น้ำตาล” มากเกินไป เสี่ยง “แก่เร็ว”

 

เรียบเรียงโดย

นางสาวภาพิมล บุญอิ้ง

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ  กรมอนามัย  เบอร์โทร 0 2590 4327

วันที่ตรวจสอบ  6 กุมภาพันธ์ 2565

 

ข้อสรุป : การบริโภคน้ำตาลมาก ไม่เพียงแต่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ยังสัมพันธ์กับการเกิดริ้วรอยและภาวะแก่ก่อนวัยอีกด้วย โดยน้ำตาลที่บริโภคเข้าไปจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด น้ำตาลนี้สามารถจับกับโปรตีนอีลาสตินและคอลลาเจน   ได้สารประกอบที่มีชื่อว่า Advanced glycation end products หรือ AGEs ซึ่งส่งผลให้โปรตีนอีลาสตินและคอลลาเจนเสื่อมสภาพ ทำให้ความยืดหยุ่นของผิวหนังลดลง เกิดการหย่อนคล้อย การบริโภคน้ำตาลยิ่งมาก                ก็จะทำให้เกิดการสะสมไขมัน น้ำหนักเกิน อ้วน ดูแก่ก่อนวัยและยังกระตุ้นกลไกดังกล่าวให้เกิดเร็วและมากขึ้น ทำให้เกิดริ้วรอยและแก่ก่อนวัยเพิ่มขึ้น

 

ลักษณะข่าว : ข่าวจริง

 

URL website: https://www.sanook.com/health/31201/

 

ข้อเท็จจริง : น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ถ้าบริโภคมากเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ การกินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงเป็นประจำ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง โมลกุลน้ำตาลจะจับกับโปรตีนทำให้เกิดสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า AGEs (Advanced Glycation End-Products) ซึ่งสามารถทำลายคอลลาเจนและอีลาสตินในผิว ส่งผลให้ผิวหนังหย่อนคล้อย เกิดริ้วรอย และจุดด่างดำตามมาได้

 

ผลกระทบ : น้ำตาลที่มากเกินไปเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

 

ข้อแนะนำ : หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ควรบริโภคน้ำตาลในปริมาณ
ที่เหมาะสม โดยองค์การอนามัยโลกได้แนะนำปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคคือ ไม่ควรเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน

เอกสารอ้างอิง :

  1. ดร.ถาวรีย์ ถิละเวช.(2562).น้ำตาลทำให้แก่เร็ว..จริงหรือไม่ [online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565. เข้าถึงได้จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/465/น้ำตาล-แก่เร็ว/

  2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.(2564). น้ำตาลทำให้แก่เร็ว จริงหรือไม่[online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565. เข้าถึงได้จาก https://oryor.com/อย/detail/media_specify/898

  3. URIBARRI, Jaime, et al. Elevated serum advanced glycation endproducts in obese indicate risk for the metabolic syndrome: a link between healthy and unhealthy obesity?. The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism, 2015, 5: 1957-1966.

 

 

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน