คุณกำลังมองหาอะไร?

ค่ได้กลิ่น ก็ฟินได้ ผลวิจัยชี้ชัด “กลิ่นกาแฟ” บำบัดความเครียดได้จริง

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

07.12.2564
677
0
แชร์
07
ธันวาคม
2564

เรื่อง : แค่ได้กลิ่น ก็ฟินได้ ผลวิจัยชี้ชัด “กลิ่นกาแฟ” บำบัดความเครียดได้จริง

 

เรียบเรียงโดย

ชื่อ นางสาวนาตยา อังคนาวิน
ตำแหน่ง นักโภชนาการชำนาญการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 02 590 4304

วันที่ตรวจสอบ 7 ธ.ค. 64

 

ข้อสรุป : งานวิจัยยืนยันว่ากลิ่นกาแฟช่วยขจัดเรื่องแย่ๆ ออกจากความคิดได้จริง โดยการลดความเครียดในระดับยีน ซึ่งการวิจัยในหนูทดลองได้สัมผัสกับกลิ่นกาแฟหลังจากอดนอนมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง พบว่า กลิ่นกาแฟทำให้ยีนในสมองกว่า 17 ชนิดตื่นตัว และยังกระตุ้นให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoids) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมความวิตกกังวลและความเครียด นอกจากนี้มีงานวิจัยพบว่า การได้สัมผัสกาแฟแม้ไม่ได้ดื่มจริงๆ ก็เพียงพอที่จะปลุกให้ตื่น โดยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ และทำให้จดจ่อกับกิจกรรมที่อยู่ตรงหน้าได้ดีมากขึ้น รวมถึงยังมีการศึกษาวิจัยที่พบว่า กลิ่นกาแฟช่วยให้ความจำดี

ลักษณะข่าว : ข่าวอาจจะจริง

url website  : https://today.line.me/th/v2/article/3NN2BjB

ข้อเท็จจริง:  การดื่มกาแฟดำมีประโยชน์ต่อร่างกายซึ่งลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และช่วยทำให้อารมณ์ การตัดสินใจ และประสิทธิภาพในการรับรู้ดีขึ้น แต่การศึกษาเรื่องกลิ่นกาแฟต่อสุขภาพยังไม่เพียงพอ พบเพียงการศึกษาในหนูว่ากลิ่นกาแฟช่วยลดความเครียด ทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้ และการศึกษาในคนพบว่ากลิ่นกาแฟอาจช่วยเพิ่มความจำในการทำงานและกระตุ้นความตื่นตัว แต่อาจไม่ได้ช่วยลดความเครียดหรือการตอบสนองต่อความเครียด

ผลกระทบ: กลิ่นกาแฟอาจช่วยเพิ่มความจำในการทำงานและกระตุ้นความตื่นตัว แต่สำหรับผลด้านสุขภาพด้านอื่น อาจต้องศึกษาให้ชัดเจนมากขึ้น

ข้อแนะนำ: แม้ยังไม่มีข้อแนะนำเรื่องกลิ่นกาแฟ จึงขอแนะนำเรื่องการดื่มกาแฟควรดื่มเป็นกาแฟดำไม่เกิน 2-3 แก้วต่อวัน ขึ้นกับความเข้มของคาเฟอีน ลดเลี่ยงการเติมความหวาน และครีมเทียม เพื่อสุขภาพที่ดี

เอกสารอ้างอิง

  1. van Dam R.M. Coffee consumption and risk of type 2 diabetes, cardiovascular diseases, and cancer. Appl Physiol Nutr Metab. 2008;33(6):1269–1283.

  2. Ullrich S., de Vries Y.C., Kühn S., Repantis D., Dresler M., Ohla K. Feeling smart: effects of caffeine and glucose on cognition, mood and self-judgment. Physiol Behav. 2015;1(151):629–637.

  3. Seo H.S., Hirano M., Shibato J., Rakwal R., Hwang I.K., Masuo Y. Effects of coffee bean aroma on the rat brain stressed by sleep deprivation: a selected transcript- and 2D gel-based proteome analysis. J Agric Food Chem. 2008;56(12):4665–4673.

  4. Hawiset T. Effect of one time coffee fragrance inhalation on working memory, mood, and salivary cortisol level in healthy young volunteers: a randomized placebo controlled trial. Integr Med Res. 2019 Dec; 8(4): 273–278.

 

 

 

 

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน