คุณกำลังมองหาอะไร?

ระโยชน์ของน้ำต้มเส้นไหมข้าวโพด

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

04.02.2565
2482
1
แชร์
04
กุมภาพันธ์
2565

เรื่อง : ประโยชน์ของน้ำต้มเส้นไหมข้าวโพด

เรียบเรียงโดย

นางสาวสุทธาศินี จันทร์ใบเล็ก

นักโภชนาการปฏิบัติการ

  เบอร์โทร 0 2590 4337

วันที่ตรวจสอบ 4 กุมภาพันธ์ 2565

 

ข้อสรุป : ประโยชน์ของน้ำต้มเส้นไหมข้าวโพดขับปัสสาวะ ลดบวม ล้างสารพิษ รักษาดีซ่านและโรคเกี่ยวกับ
ถุงน้ำดี ช่วยป้องกันความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินปัสสาวะที่ติดไวรัส เส้นไหมข้าวโพดแห้งมาต้มกับน้ำมีส่วนช่วยรักษาอาการอักเสบเรื้อรัง ช่วยฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย มีเส้นใยอาหารสูง กระตุ้นการย่อยอาหาร และช่วยระบบเผาผลาญของร่างกาย มีวิตามินเค ควบคุมน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดนิ่วในไต ยังสามารถช่วยลดความอ้วนได้

ลักษณะข่าว : ข่าวบิดเบือน

URL website: https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2662431247369129&id=100008068387391&_rdc=2&_rdr

ข้อเท็จจริง : ไหมข้าวโพดคือก้านเกสรตัวเมีย นิยมใช้เป็นยาตามตำรายาพื้นบ้าน การวิจัยไหมข้าวโพดยังมีจำกัด มีการศึกษาหนูทดลองพบว่าไหมข้าวโพดมีฤทธิ์ขับปัสสาวะจึงอาจช่วยลดสารพิษได้ส่วนหนึ่ง แต่ไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสในระบบทางเดินปัสสาวะได้และไม่ช่วยป้องกันความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ยังไม่พบการศึกษาว่าคนเป็นไตอักเสบเรื้อรังดื่มน้ำต้มใยไหมแล้วดีขึ้น ไหมข้าวโพดมีใยอาหารสูงแต่น้ำต้มไหมข้าวโพดแทบไม่พบใยอาหาร

ผลกระทบ : ผู้ที่กินยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ยาเบาหวาน ยาต้านการอักเสบและผู้ที่มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ไม่ควรกินไหมข้าวโพด แม้ว่าไหมข้าวโพดจะปลอดภัยในคนส่วนใหญ่ แต่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้

ข้อแนะนำ : ไหมข้าวโพดนำมาเป็นอาหารและยาได้ ผู้ใหญ่กินแบบแห้งครั้งละ 4 - 8 กรัม 3 ครั้งต่อวันหรือชงเป็นชาดื่ม (ไหมข้าวโพดแห้ง 0.5 กรัม/น้ำ 150 มล.) และควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง :

  1. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. ไหมข้าวโพด รักษานิ่วในไต. เข้าถึงได้จาก

   https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/trust-news/7258-trust0098.html. สืบค้นเมื่อวันที่
   4 กุมภาพันธ์ 2565

  1. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สูตรแผนจีนใช้ไหมข้าวโพดและกระเทียม ต้มน้ำดื่มช่วยขับนิ่วใน

   กระเพาะปัสสาวะ. เข้าถึงได้จาก  

   https://web.facebook.com/AntiFakeNewsCenter/photos/588796585887852. สืบค้นเมื่อวันที่
   4 กุมภาพันธ์ 2565

  1. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนข้าวโพด...เอาไปทำอะไรก็อร่อย

   สืบค้นจากสำนักงานข้อมูลสมุนไพร.เข้าถึงได้จาก

   https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/365. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 25654.

  1. Zhang Y, Wu L, Ma Z, Cheng J, Liu J. Anti-Diabetic, Anti-Oxidant and Anti-Hyperlipidemic Activities of Flavonoids from Corn Silk on STZ-Induced Diabetic Mice. Molecules. 2015 Dec 23;21(1):E7.

  2. Li CC, Lee YC, Lo HY, Huang YW, Hsiang CY, Ho TY. Antihypertensive Effects of Corn Silk Extract and Its Novel Bioactive Constituent in Spontaneously Hypertensive Rats: The Involvement of Angiotensin-Converting Enzyme Inhibition. Molecules. 2019 May 16;24(10):1886.

 

 

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน