คุณกำลังมองหาอะไร?

งุ่นแดง ขิงแก่ เก๋ากี้ ชงกับใบชาเขียว และน้ำร้อน ดื่มช่วยกระตุ้นการสร้างเกล็ดเลือดและเม็ดเลือดขาว

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

20.01.2565
3647
1
แชร์
20
มกราคม
2565

เรื่อง : องุ่นแดง ขิงแก่ เก๋ากี้ ชงกับใบชาเขียว และน้ำร้อน

ดื่มช่วยกระตุ้นการสร้างเกล็ดเลือดและเม็ดเลือดขาว

 

เรียบเรียงโดย

นางสาวณัฐนิช  อินทร์ขำ นักโภชนาการปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 0 2590 4327

วันที่ตรวจสอบ 20 มกราคม 2565

 

ข้อสรุป : การรักษามะเร็งโดยใช้เคมีบำบัดมักพบผลข้างเคียง คือ ผู้ป่วยมีเม็ดเลือดแดงต่ำ ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำทำให้มีเลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก จึงอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตจากภาวะเลือดออกไม่หยุดได้ ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำเป็นสาเหตุให้มีการติดเชื้อได้บ่อย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับเคมีบำบัดอย่างต่อเนื่อง จึงมีสูตรสมุนไพร ให้นำองุ่นแดงสด ขิงแก่สด  ใบชาเขียว เก๋ากี้ มาต้มดื่มเพื่อกระตุ้นการสร้างเกล็ดเลือดและเม็ดเลือดขาว(รวมถึงเม็ดเลือดแดง) และช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง แต่ต้องระวังในผู้ป่วยเบาหวาน ไม่แนะนำให้ทานสูตรนี้

 

ลักษณะข่าว : ข่าวลือ

url website: https://www.facebook.com/groups/1571809823095317/permalink/2865382133738073/

ข้อเท็จจริง: ภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาเคมีบำบัด คือ เกิดภาวะเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดต่ำ เกิดภาวะเลือดจาง ร่างอ่อนเพลีย ภูมิต้านทานน้อยติดเชื้อง่าย และทำให้ผู้ป่วยอยากอาหารน้อยลง เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ ปัจจุบันไม่มีการศึกษาในมนุษย์ที่ยืนยันได้ว่าอาหารหรือสารอาหารใดสามารถเพิ่มระดับเม็ดเลือดหรือเกร็ดเลือดได้เป็นพิเศษ อาหารจึงมีบทบาทสำคัญ ผู้ป่วยจึงควรได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอต่อการสร้างเม็ดเลือด

ผลกระทบ: การกินสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาทางเลือกนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อไม่ใช้ส่งผลกระทบข้างเคียงในการรักษาโรคและต่อร่างกาย

ข้อแนะนำ: ผู้ป่วยรักษามะเร็งควรแบ่งอาหารเป็น5-6มื้อย่อย/วัน เลือกอาหารที่ให้โปรตีนและพลังงานสูง หรืออาหารทางการแพทย์เสริมแทนมื้ออาหาร เน้นอาหารสุก สะอาดปลอดภัย เน้นผักผลไม้ เพื่อให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ

เอกสารอ้างอิง

  1. 1. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. อาหารบำรุงเลือด ในผู้ป่วยรักษามะเร็ง. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://www.siphhospital.com/th/news/article/share/food-nourishment-blood

  2. Shaito A, Posadino AM, Younes N, Hasan H, Halabi S, Alhababi D, Al-Mohannadi A, Abdel-Rahman WM, Eid AH, Nasrallah GK, Pintus G. Potential adverse effects of resveratrol: A literature review. International journal of molecular sciences. 2020 Jan;21(6):2084.

  3. Wang Y, Cui H, Niu F, Liu SL, Li Y, Zhang LM, Du HB, Zhao ZG, Niu CY. Effect of resveratrol on blood rheological properties in LPS-challenged rats. Frontiers in Physiology. 2018:1202.

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน