คุณกำลังมองหาอะไร?

ดื่

ดื่มกาแฟดำ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคตับแข็ง และช่วยป้องกันการเกิดไขมันพอกในตับ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

14.02.2565
304
1
แชร์
14
กุมภาพันธ์
2565

เรื่อง : ดื่มกาแฟดำ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคตับแข็ง และช่วยป้องกันการเกิดไขมันพอกในตับ

เรียบเรียงโดย

นางสาวปัทมา ดวงมุสิก

นักโภชนาการปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย โทร. 0 2590 4304

วันที่ตรวจสอบ 14 กุมภาพันธ์ 2565

 

ข้อสรุป : กาแฟดำ เครื่องดื่มแสนขม แต่ดีต่อสุขภาพสุด ๆ กาแฟดำมีคุณสมบัติที่ช่วยเพิ่มสาร Antioxidants ซึ่งช่วยกำจัดสิ่งที่จะมาทำร้ายตับได้ สามารถลดความเสี่ยง โรคตับแข็ง ช่วยป้องกันการเกิดไขมันพอกในตับ นอกจากนี้ยังขับพิษสะสมในร่างกาย ลดอาการบวมน้ำ ดีต่อระบบเผาผลาญ ลดน้ำหนักได้อีกด้วย แต่ก็ควรดื่มให้พอดี ไม่ควรดื่มกาแฟดำเกิน 4 แก้ว/วัน หรือรับคาเฟอีนได้ไม่เกิน 300-400 มก./วัน

ลักษณะข่าว : ข่าวค่อนข้างจริง

url website : https://www.facebook.com/EventPassfanpage/posts/6923163837758119?_rdc=1&_rdr

ข้อเท็จจริง : กาแฟดำอุดมด้วยโฟลิฟีนอลซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ การดื่มกาแฟมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับอัตราการเกิดพังผืดในตับที่ลดลง 35% ซึ่งลดความเสี่ยงโรคตับแข็งได้ ผลการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟ> 3 ถ้วย/วัน มีความเสี่ยงเกิดไขมันพอกตับน้อยกว่าการดื่มกาแฟ< 2 ถ้วย/วัน ดังนั้นการดื่มกาแฟเป็นประจำมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการลดความเสี่ยงต่อไขมันพอกตับ แต่ยังคงต้องศึกษาปัจจัยอื่นทางระบาดวิทยาเพิ่มเติม

ผลกระทบ : การดื่มกาแฟปริมาณมากในคราวเดียว อาจทำให้เกิดใจสั่น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นชั่วขณะ กระสับกระส่าย และนอนไม่หลับ หากวันไหนที่ไม่ได้ดื่มจะมีอาการอ่อนเพลีย ง่วง ซึม ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่าได้

ข้อแนะนำ : ใน 1 วันไม่ควรดื่มกาแฟเกิน 3-4 แก้ว หรือรับคาเฟอีนไม่เกิน 300-400 มก. เลือกกาแฟดำแทนกาแฟที่ใส่น้ำตาลและครีมเทียมเป็นประจำ เพราะอาจได้รับพลังงานและไขมันเกิน ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มหรือมีภาวะอ้วนได้

เอกสารอ้างอิง :

 Ebadi, M.; Ip, S.; Bhanji, R.A.; Montano-Loza, A.J. Effect of Coffee Consumption on

Non-Alcoholic Fatty Liver Disease Incidence, Prevalence and Risk of Significant Liver Fibrosis: Systematic Review with Meta-Analysis of Observational Studies. Nutrients 2021, 13, 3042.

Hayat U, Siddiqui AA, Okut H, Afroz S, Tasleem S, Haris A. The effect of coffee consumption on the non-alcoholic fatty liver disease and liver fibrosis: A meta-analysis of 11 epidemiological studies. Ann Hepatol. 2021 Jan-Feb;20:100254

Chen, Y.-P.; Lu, F.-B.; Hu, Y.-B.; Xu, L.-M.; Zheng, M.-H.; Hu, E.-D. A systematic review and a dose–response meta-analysis of coffee dose and nonalcoholic fatty liver disease. Clin. Nutr. 2019, 38, 2552–2557

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย , การดื่มกาแฟและปริมาณที่แนะนำสำหรับคนไทย, เข้าถึงได้จากhttps://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/academicarticles/download?id=40742&mid=31947&mkey=m_document&lang=th&did=14451

Fukushima Y, Tashiro T, Kumagai A, Ohyanagi H, Horiuchi T, Takizawa K, Sugihara N, Kishimoto Y, Taguchi C, Tani M, Kondo K. Coffee and beverages are the major contributors to polyphenol consumption from food and beverages in Japanese middle-aged women. J Nutr Sci. 2014 Oct 22;3:e48.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน