คุณกำลังมองหาอะไร?

ดื่

ดื่มน้ำมากเกินไป อาจเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ ถึงตายจริงหรือ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

31.01.2565
7188
7
แชร์
31
มกราคม
2565

ดื่มน้ำมากเกินไป อาจเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ ถึงตายจริงหรือ

เรียบเรียงโดย

ชื่อ นางสาวกุลธิดา รักกลัด
ตำแหน่ง นักโภชนาการปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 02-590-4336

วันที่ตรวจสอบ 31 มกราคม 2565

 

ข้อสรุปจากข่าว : ภาวะน้ำเป็นพิษ (Water intoxication or Water poisoning) เกิดจากการที่ดื่มน้ำมากจนเกินไป ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเลือดมาก และภาวะโซเดียมในเลือดน้อยเกินแบบเจือจาง (Dilutional Hyponatremia) จึงส่งผลให้ปวดศีรษะ ตะคริว ชัก หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน บวม ส่งผลกระทบต่อเซลล์สมอง ซึ่งอาจอันตายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้  โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะน้ำเป็นพิษ เนื่องจากพวกเขาอาจคิดว่า พวกเขาต้องการน้ำมากกว่าที่กำลังบริโภคอยู่ อาจจะเนื่องจากมีการใช้ยา หรือสภาพจิตใจ เช่น ผู้ที่มีความพยายามจะลดน้ำหนัก ด้วยการดื่มน้ำในปริมาณมาก โรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว ผู้ที่เคยใช้ยาเสพติด รวมถึงแอลกอฮอล์ และพยายามที่จะกำจัดสิ่งเหล่านี้ออกจากร่างกายด้วยการดื่มน้ำมากๆ สำหรับความต้องการน้ำในแต่ละวันนั้น ไม่ได้มีปริมาณที่เฉพาะเจาะจง เพราะขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว กิจกรรมระหว่างวัน การออกกำลังกาย และสภาพภูมิอากาศ

 

ลักษณะข่าว : ข่าวจริง

url website : https://hellokhunmor.com/โภชนาการเพื่อสุขภาพ/เคล็ดลับโภชนาการที่ดี/ดื่มน้ำมากเกินไป-ภาวะน้ำเป็นพิษ/

ข้อเท็จจริง: การดื่มน้ำนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบ 2 ใน 3 ของร่างกาย แต่หากดื่มน้ำมากเกินไปคือ วันละ 6-7 ลิตร ส่งผลให้ร่างกายได้รับน้ำปริมาณมากเกินไปในเวลารวดเร็วเกิดภาวะน้ำเกินหรือน้ำเป็นพิษ (Water Intoxication) ส่งผลให้ปวดศีรษะ ตะคริว ชัก หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน บวม ส่งผลกระทบต่อเซลล์สมอง ซึ่งอาจอันตายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทำให้ความเข้มข้นของแร่ธาตุโซเดียมลดลง

ผลกระทบ : การได้รับน้ำมากเกินกว่าอัตราการขับถ่ายของไตจะมีผลทำให้เกิดภาวะ hypoosmolarity ส่งผลให้
มึนงง ความคิดสับสน หมดสติ ชักและอาจเสียชีวิตได้ แต่เป็นภาวะที่เกิดได้ยากในคนปกติที่มีสุขภาพดี

ข้อแนะนำ : ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เหมาะสมเพียงพอกับความต้องการของร่างกายเฉลี่ยวันละ 8-10 แก้ว (1.5-2 ลิตร/คน/วัน) หรือดื่มเพิ่มตามน้ำหนักตัว ช่วงหน้าร้อน ไม่ควรดื่มน้ำคราวเดียวทีละมากๆแต่ควรจิบบ่อยๆ ตลอดวัน

เอกสารอ้างอิง

  1. คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี.โปรเกรสซีฟ,
  2. David C. Dugdale: Low blood sodium.2021 [Internet]. Available from: https://medlineplus.gov/ency/article/000394.htm

 

 

 

 

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน