คุณกำลังมองหาอะไร?

รู้

รู้ไว้ใช่ว่า อาหารไหว้ตรุษจีนแฝงโรค ถ้าไม่คิดก่อนกิน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

10.02.2565
102
0
แชร์
10
กุมภาพันธ์
2565

 

เรื่อง : รู้ไว้ใช่ว่า อาหารไหว้ตรุษจีนแฝงโรค ถ้าไม่คิดก่อนกิน

เรียบเรียงโดย  

นางสาวใจรัก ลอยสงเคราะห์  

นักโภชนาการปฏิบัติการ  

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 02 590 4791  

วันที่ตรวจสอบ 10 กุมภาพันธ์ 2565

 

ข้อสรุป :  การเลือกรับประทานอาหารไหว้ในช่วงตรุษจีน เช่น เป็ดพะโล้ หมูสามชั้น ไก่ต้ม ผัดหมี่ซั่ว        ขนมเทียน ขนมเข่ง อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคเก๊าท์ โรคไขมันสูง บางอย่างอาจมีสีสังเคราะห์ปนมากับอาหาร และสีย้อมธูปที่ใช้ปักอาหาร ซึ่งทำให้ปนเปื้อนตะกั่ว ปรอท ดังนั้นควรกินในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อ สุขภาพที่ดี ห่างไกลโรค

 

ลักษณะข่าว : ข่าวค่อนข้างจริง

url website: https://www.bangkokhospital.com/content/chinese-new-year-food

ข้อเท็จจริง:   อาหารไหว้ในช่วงตรุษจีน เช่น เป็ดพะโล้ หมูสามชั้น ไก่ต้ม ผัดหมี่ซั่ว ขนมเทียน ขนมเข่ง ไม่ควรกินมากเกินไปเพราะมีแป้งน้ำตาลและไขมันเป็นหลัก อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ และบางชนิดอาจเจือปนสีสังเคราะห์หากกินมากไปอาจคลื่นไส้ อาเจียน หรือเกิดแพ้ผื่นคัน หรือปนเปื้อนสีจากก้านธูป ซึ่งมีโลหะที่เกิดให้เกิดโรคมะเร็งในระยะยาวได้

ผลกระทบ: หากอาหารที่นำมาไหว้เจ้า ไม่ สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน หรือใส่สีผสมสารอาหารที่ฉูดฉาดเกินไป อาจทำให้ได้รับสิ่งปนเปื้อนรวมทั้งหากกินอาหารในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดการสะสมในร่างกายได้

 

ข้อแนะนำ: เน้นกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม ลด หวาน มัน เค็ม หลีกเลี่ยงกินอาหารปรุงสุกใหม่ หลีกอาหารสีฉูดฉาด ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ จะทำให้มีสุขภาพดี ห่างไกลโรค

เอกสารอ้างอิง

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สุขภาพดี เริ่มที่...อาหารลดหวาน มัน เค็ม เติมเต็ม ผักผลไม้. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/elderlybook/194714

ผศ.พญ.อัจฉรา กุลวิสุทธ. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (ม.ป.ป). โรคเก๊าท์. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/1217_1.pdf  

ผศ.ดร.เวณิกา เบ็ญจพงศ์ และคณะ. สถาบันโภชนาการ.สีสันในอาหาร. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.arda.or.th/ebook_flipbook.php?book_id=17

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน