คุณกำลังมองหาอะไร?

น้

น้ำกระเทียมโทนผสมกันนมเปรี้ยวดื่ม ป้องกันเส้นเลือดตีบ ?

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

09.02.2565
491
0
แชร์
09
กุมภาพันธ์
2565

เรื่อง : น้ำกระเทียมโทนผสมกันนมเปรี้ยวดื่ม ป้องกันเส้นเลือดตีบ ?

 

เรียบเรียงโดย

นางสาวอัญชลี  ศิริกาญจนโรจน์  

นักโภชนาการปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  โทร. 0 2590 4329

วันที่ตรวจสอบ 9 กุมภาพันธ์ 2565

ข้อสรุป : เส้นเลือดตีบมาจากไขมันอุดตันในหลอดเลือด เลือดมีแรงดัน เมื่อไปต่อไม่ได้ก็แตก ถ้าแตกตรงสมองควบคุมส่วนไหนของร่างกายส่วนนั้นก็จะสูญเสียการควบคุม ถ้าไม่ตายก็เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ปากเบี้ยว     พูดไม่ชัด มือแขนขาอ่อนแรง สาเหตุมาจากการบริโภคไขมันทรานส์ น้ำมันผัดทอด เมนูจานด่วนมีแต่ผัด ๆ ทอด ๆ
เมื่อเริ่มมีความดัน อันนั้นแหล่ะเริ่มอันตรายแล้ว เราไม่เป็นไรก็กินป้องกันไว้ น้ำกระเทียมโทน อีกหนึ่งวิธีทานก็คือ 1 - 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกันนมเปรี้ยวหรือยาคูลท์ขวดเล็ก จะทำให้ทานง่ายและได้จุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้ ถ้ามีมะนาวหรือเลม่อน ก็บีบน้ำซัก ครึ่งถึง 1 ลูก เพื่อเพิ่มวิตามินซี ป้องกันไว้ก่อนสายเกินแก้

 

ลักษณะข่าว : ข่าวลือ

url website  : https://web.facebook.com/witeethammachad/posts/1561886107347912?_rdc=3&_rdr

 

ข้อเท็จจริง: กระเทียมโทนมีสารสำคัญที่ดีต่อร่างกาย ได้แก่ Allicin, S-allylcysteine (SAC) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ลดไขมันในเลือดของกระเทียมสดและผลิตภัณฑ์ในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงมีหลากหลายผลที่ได้มีความแตกต่างกัน พบทั้งลดไขมันและคอเลสเตอรอลได้เล็กน้อยหรือไม่ได้ผล แต่ยังไม่มีหลักฐานการศึกษาทางคลินิกยืนยันว่าน้ำกระเทียมโทนผสมกันนมเปรี้ยวดื่มนั้นสามารถป้องกันเส้นเลือดตีบได้

ผลกระทบ: ถ้ากินกระเทียมตอนท้องว่างหรือมากไป จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียและมีผลยับยั้งการแข็งตัวของเลือด เมื่อต้องผ่าตัดหรือทำฟันแนะหยุดกินกระเทียมและผลิตภัณฑ์ในขนาดที่ใช้เป็นยาล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน

ข้อแนะนำ: กระเทียมกินสดหรือใช้ปรุงอาหารได้และควรจำกัดอาหารไขมันสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ คุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ กินโปรตีนจากปลา เน้นผัก ดื่มน้ำและพักผ่อนให้พอ จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

 

เอกสารอ้างอิง

  1. คณะอนุกรรมการจัดทำตำราอ้างอิงยาสมุนไพรไทย ในคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย. กระเทียม (Kra Thiam). วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

    2563 ;18: 203-8.

  2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. กระเทียม. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=8

 

 

 

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน