คุณกำลังมองหาอะไร?

ผั

ผักเชียงดา’ กับฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เสริมเกราะป้องกันโควิด

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.03.2565
22446
8
แชร์
06
มีนาคม
2565

เรื่อง : ผักเชียงดา’ กับฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เสริมเกราะป้องกันโควิด

เรียบเรียงโดย

นางสาวณิชพัณณ์ ฐิระโกมลพงศ์ 

นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการพิเศษ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย เบอร์ 02 9687619

วันที่ตรวจสอบ 6 มีนาคม 2565

 

ข้อสรุป :  กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจัดผักเชียงดาอยู่ในกลุ่มผักที่มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง สามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต้านการติดเชื้อไวรัส ลดความเสี่ยงและเป็นเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19  คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าผักเชียงดาช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานซึ่งเป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากติดเชื้อโควิด การศึกษาทางคลินิกพบว่ากลุ่มที่ดื่มชาเชียงดาสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ดื่ม อย่างไรก็ตามเมื่อทำการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 กลับไม่พบฤทธิ์รักษาเบาหวานดังกล่าว การศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผักเชียงดายังมีไม่มากนัก แต่ผักเชียงดาอาจใช้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลขั้นต้น ข้อมูลจากดิสไทยรายงานผลการศึกษาว่าไม่พบความเป็นพิษของผักเชียงดา สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่กินยาแผนปัจจุบันและต้องการกินผักเชียงดา ควรใช้ความระมัดระวังเนื่องจากอาจเสริมฤทธิ์กับยาจนทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปได้

 

ลักษณะข่าว : ข่าวจริง

url website: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/965000

ข้อเท็จจริง : การบริโภคน้ำตาลส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ถ้าระดับน้ำตาลสูงมากเกินปกติจะกดการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกายจะกำจัดเชื้อไวรัสลดลงเสี่ยงติดเชื้อมากขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ผักเชียงดามีวิตามินซีและสารกลุ่มฟีนอลิกค่อนข้างสูง และมีสารสำคัญคือ gymnemic acid ซึ่งมีฤทธิ์ชะลอการดูดซึมน้ำตาล กระตุ้นการซ่อมแซมตับอ่อนให้หลั่งอินซูลินอย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้

ผลกระทบ : ไม่พบผลข้างเคียงจากการกินผักเชียงดา ผู้ที่มีกรดในกระเพาะอาหารมากไม่ควรกินผักเชียงดาตอนท้องว่าง ผู้ป่วยเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินผักเชียงดาและผลิตภัณฑ์จากผักเชียงดาทุกชนิด

ข้อแนะนำ : ผักพื้นบ้านอย่างผักเชียงดา นำมาปรุงเป็นอาหารได้ แต่ก็ควรจำกัดการกินแป้ง น้ำตาลและไขมัน ควบคุมน้ำหนักตัวในอยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และกินอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ด้วย

 

 

เอกสารอ้างอิง :

  1. กนกพร อะทะวงษา. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [อินเทอร์เน็ต]. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของผักเชียงดา. [ปรับปรุงเมื่อ 15 กรกฎาคม2561; เข้าถึงเมื่อ 6 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/432/ /ผักเชียงดา-ลดน้ำตาลในเลือด/
  2. ผักเชียงดา ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย.[อินเทอร์เน็ต]. ผักเชียงดา งานวิจัยและสรรพคุณ 19ข้อ [เข้าถึงเมื่อ 6 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.disthai.com/ผักเชียงดา
  3. รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วิลาสินี หิรัญพานิช ซาโตะ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล. [อินเทอร์เน็ต]. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โรคเบาหวานกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). [ปรับปรุงเมื่อ 21/05/2564 ; เข้าถึงเมื่อ 6 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/561/เบาหวานกับโควิด-19/
  4. ผศ. นพ. วีรชัย ศรีวณิชชากร สาขาวิชาการบริบาลผู้ป่วยนอก ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.[อินเทอร์เน็ต]. ดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ในสถานการณ์ COVID-19 [ปรับปรุงเมื่อ 21/05/2564 ; เข้าถึงเมื่อ 6 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1423
  5. ANJUA, Hafeez Ullah; AKHTAR, Munir; HUSSAIN, Fayyaz. Effects of sugar, salt and distilled water on white blood cells and platelet cells: A review. Journal of Tumor, 2016, 4.1: 354-358.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                      

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน